Jump to content
We are currently closing new member registration for the time being. We apologize for the inconvenience. ×
  • entries
    9
  • comments
    0
  • views
    77,345

ประเภทของโปเกมอนและทีม


Zoommy

10,612 views

ประเภทของโปเกมอนและทีม

ประเภทของโปเกมอน
ก่อนอื่น เรามารู้จักกันก่อนนะครับ ว่าโปเกมอนตัวนั้นๆมีหน้าที่อะไร ทำอะไรให้เราได้บ้าง

1. Sweeper
โปเกมอนที่เป็นสวีปเปอร์ จะมีหน้าที่คือเป็นโปเกมอนที่เอาไว้โจมตีเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือทีม มักจะเป็นพวกที่มี Atk และ S.Atk สูงเป็นพิเศษ และที่สำคัญคือต้องมีความเร็วสูงกว่าโปเกมอนส่วนใหญ่ (บางตัวอาจไม่เร็ว แต่มีลูกเล่นหลายอย่างในการโจมตี อาจถูกนับเป็นสวีปเปอร์ได้) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สวีปเปอร์ด้านกายภาพและสวีปเปอร์ด้านพิเศษ ตัวอย่างโปเกมอนในกลุ่มนี้ได้แก่ ฮิโกซารุ ฟูดิน ทันเดอร์ เอฟี่ ฮัสซัม ฯลฯ

2. Tank/Staller/Wall
โปเกมอนประเภทนี้ จะมีหน้าที่คือออกมารับการโจมตีอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นแทงค์(น้ำ)บางคนอาจคิดในเรื่องของรับการโจมตีแล้วสวนกลับเป็นหลักด้วย โปเกมอนประเภทนี้จะต้องมีค่า Def/S.Def ที่สูงมาก และจะต้องแยกเลยว่าจะเอามาเล่นรับ Def หรือ S.Def เพราะถ้าจะให้รับได้ทั้ง Def และ S.Def จะส่งผลให้มันไม่อึดในด้านใดด้านนึงไปเลย  และโปเกมอนส่วนใหญ่ไม่ได้มีค่า Def และ S.Def ที่สูงพอๆกัน จึงต้องพิจารณาโปเกมอนตัวนั้นๆว่าควรจะเล่นรับ Def หรือ S.Def ที่สำคัญคือโปเกมอนประเภทนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมีสปีดที่สูง เพื่อที่จะได้โจมตีก่อน เพราะหน้าที่ของมันคือเอามารับการโจมตี แต่ควรมีท่าโจมตีอย่างน้อย 1 ท่า ตัวอย่างโปเกมอนในกลุ่มได้แก่ แอร์มุโด้ บันกิรัส ฯลฯ

3. Mixed Sweeper
โปเกมอนประเภทนี้ จะมีหน้าที่คือรับบทเอาไว้ทำลายสตอลโดยการโจมตีโดยเฉพาะ เพราะโปเกมอนประเภทนี้ จะสามารถโจมตีได้ทั้งกายภาพและพิเศษ ที่ผมพูดคือผมหมายถึงโปเกมอนประเภทนี้ ออกแบบมาเพื่อให้โจมตีได้ทั้งกายภาพและพิเศษโดยเฉพาะ ตั้งใจเลือกใช้ท่าโจมตีทั้งกายภาพและพิเศษในตัวเดียวกัน ไม่ใช่มีท่าโจมตีทั้ง 2 แบบนะครับ - -* ย้ำว่าจัดมาเพื่อตีกายภาพและพิเศษ โดยการยัด EV และเปลี่ยนนิสัยไม่ให้ Atk หรือ S.Atk โดนลบ เนื่องจากโปเกมอนส่วนใหญ่ไม่ได้มีค่า Def และ S.Def ที่สูงพอๆกัน จึงต้องพิจารณาโปเกมอนตัวนั้นๆว่าควรจะเล่นรับ Def หรือ S.Def อย่างที่บอกไป ทำให้เกิดช่องโหว่นี้ขึ้นมา

Spoiler

ทำไมต้อง Mixed Sweeper ด้วย?? เพื่ออะไร?? ตอบ... เพราะทีมสตอลหรือบาลานซ์ มักจะมีตัวที่สามารถรับการโจมตี Def และ S.Def อยู่ในทีมอย่างน้อย 2 ตัว (ตัวนึงรับ Def อีกตัวรับ S.Def) ทำให้คนรับต้องมีการเปลี่ยนตัวรับไปมา เพราะว่าตัวนึงรับได้แค่ Def เลยต้องขยันเปลี่ยนตัวที่รับ S.Def ออกมาช่วยเหลือมัน Mixed Sweeper โจมตีได้ทั้งกายภาพและพิเศษ ทำให้เราไม่ต้องเปลี่ยนตัวเพื่อจะมาโจมตีอีกฝ่าย ที่ไม่ต้องเปลี่ยนตัว เพราะเราโจมตีได้ทั้งกายภาพและพิเศษ ยกตัวอย่างโปเกมอนที่สามารถรับมือ Def กับ S.Def ช่วยกันได้อย่างแน่นหนา ก็คือ Skarmory คู่กับ Blissey ซึ่งถึงกับตั้งชื่อมันว่า Skarmbliss หรือ Blisskarm เลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเซ็ตโปเกมอน Mixed Sweeper นะครับ
Infernape (M) @ Life Orb
Trait: Blaze
EVs: 252 Atk / 64 SAtk / 192 Spd
Naive Nature (+Spd, -SDef)
- Close Combat
- Stone Edge
- U-turn
- Overheat

จะเห็นได้ว่า 3 ท่านั้นเป็น Atk หมด แต่มีติด Overheat ไว้ด้วย ซึ่ง Overheat จะเอาไว้ใช้โจมตีโปเกมอนที่ Def เยอะ แต่ S.Def น้อย

แต่ข้อจำกัดของ Mix Sweeper เองก็มีอยู่เยอะนะครับ เช่น โปเกมอนตัวที่จะ Mix Sweeper จะต้องมีค่า Atk และ S.Atk เยอะเหมือนกันหรือไม่ต่างกันมาก
และในขณะเดียวกัน จะทำให้โจมตี Atk หรือ S.Atk ได้ไม่แรงพอควรอีกด้วย (เพราะต้องแบ่ง EV บางส่วนให้ทั้ง Atk และ S.Atk ซึ่งแทนที่จะใส่ Atk/S.Atk กับสปีดไปเลย หรืออาจจะไม่เพิ่ม Atk/S.Atk อันใดอันหนึ่ง แล้วอัดอีกอย่างให้เต็มที่ก็ได้ แต่มันจะไม่แรงพอนะครับ ซึ่งเราสามารถใช้ Item ช่วยในเรื่องของความแรงในการโจมตีได้ เตรียมอ่านในหัวข้อทันไปนะครับ)

4. Supporter
โปเกมอนประเภทนี้ อาจจะเรียกได้ไม่เต็มปากนักว่าเอาไว้รับการโจมตีแบบในหัวข้อที่ 2 เพราะหน้าที่ของมันคือการช่วยเหลือให้ทีมอยู่รอดและ/หรือได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม โดยสิ่งที่ช่วยให้เราได้เปรียบได้แก่การวาง Hazard ต่างๆ การรักษาสถานะผิดปกติของทีม การใช้ Rapid Spin การทำให้อีกฝ่ายติดสถานะผิดปกติ ลดสเตตัสของอีกฝ่าย การช่วยเพิ่ม HP ให้กับโปเกมอนในทีม ฯลฯ ตัวอย่างโปเกมอนในกลุ่มนี้ได้แก่ ฮาปินัส ชาวเวอร์ส ฯลฯ

5. Stall Breaker
หน้าที่ของสตอลเบรคเกอร์ คือทำลายจังหวะการทำเกมของทีมสตอล(อ่านรายละเอียดได้ที่หัวข้อประเภทของทีม)ไม่ให้ดำเนินไปอย่างง่ายดาย คือสตอลทีมจะต้องทำให้อีกฝ่ายเสียหายจาก Hazard และสถานะผิดปกติ พูดง่ายๆคือไม่ต้องโจมตี ใช้แต่ท่าประเภทช่วยเหลือ แต่ถ้าอีกฝ่ายทำให้เราได้แต่ใช้ท่าที่เป็นท่าโจมตีที่เกิดดาเมจ สตอลก็จะไปต่อไม่ได้ ใช่ครับ หนึ่งในแนวทางทำลายทีมสตอลก็คือท่า Taunt และยังมีแนวทางทำลายสตอลได้อีกเช่นการโปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Magic Guard ทำให้ไม่ได้รับผลของ Hazard และสถานะผิดปกติ และการปั๊มค่าสเตตัสทั้งหลาย ตัวอย่างโปเกมอนในกลุ่มนี้ได้แก่ รันคุรุส ไกรอ้อน ฯลฯ

ประเภทของทีม
ถ้าอยากจะเล่นให้เก่ง นอกจากจะจัดตัวโปเกมอนเป็นแล้ว ยังต้องเรียนรู้เรื่องประเภทของทีมอีกด้วย ซึ่งผมจะแบ่งทีมเป็น 4 ประเภทหลักๆดังต่อไปนี้นะครับ

1. ทีมประเภทสวีป
ทีมสวีปคือทีมที่เน้นลุยแหลก อัดอีกฝ่ายเต็มที่ เอาให้ตายไปข้างนึง 
เป็น 1 ในทีมที่นิยมมากๆในยุคของเจน 3 และเริ่มมีบทบาทน้อยลงมาเรื่อยๆตั้งแต่เริ่มยุคเจน 4 จนมาถึงเจน 5 ไม่มีให้เห็นแล้ว 
รูปแบบการจัดทีม : โปเกมอนทั้ง 6 ตัวของเรา จะมีแต่พวกสปีดเร็ว ตีแรงๆทั้งกายภาพและพิเศษ(หรือเรียกว่า สวีปเปอร์ที่ได้อธิบายไปแล้ว) แต่ในทางกลับกัน เป็นโปเกมอนที่เปราะบางมากๆ อาจจะโดนอะไรทีเดียวก็ไม่รอด พูดแบบง่ายๆคือโปเกมอนทั้ง 6 ตัวของเรา จะมีแต่พวกเน้นโจมตี ไม่มีตัวรับเลยแม้แต่ตัวเดียว ซึ่งถ้าจะพูดว่าเน้นโจมตีได้เต็มปาก ก็คือตีแรงอย่างเดียวไม่พอ ต้องสปีดเร็วด้วย (อาจใช้ Choice Scarf ช่วยถ้าโปเกมอนตัวนั้นตีแรงแต่สปีดไม่มากพอ)
รูปแบบการเล่น : ไม่มีอะไรมากครับ แค่ใช้โปเกมอนที่มีอยู่ตีอีกฝ่ายให้ชนะก็พอ ตีแบบไม่สนใจเลยว่าโปเกมอนเราจะเป็นยังไง เพราะเราเอามันไว้โจมตีอย่างเดียว

ด้วยรูปแบบการเล่นที่ง่าย จัดทีมไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่หาโปเกมอนที่ตีแรง + เร็ว ถ้าไม่เร็วแต่ตีแรงก็หา Choice Scarf มาช่วย จึงเหมาะกับมือใหม่มากๆ

Spoiler

ยกตัวอย่างทีม **คลิกข้างล่างเพื่อแสดงนะครับ**
Talonflame @ Choice Band
Ability: Gale Wings
EVs: 252 Atk / 252 Spd / 4 HP
Adamant Nature
- Brave Bird
- U-turn
- Flare Blitz
- Tailwind

Greninja @ Life Orb
Ability: Protean
EVs: 252 Spd / 252 SAtk / 4 HP
Naive Nature
- U-turn
- Ice Beam
- Dark Pulse
- Hydro Pump

Garchomp @ Life Orb
Ability: Rough Skin
EVs: 252 Spd / 252 Atk / 4 HP
Jolly Nature
- Dragon Claw
- Stealth Rock
- Earthquake
- Swords Dance

Manectric @ Manectite
Ability: Lightningrod
EVs: 252 Spd / 252 SAtk / 4 HP
Timid Nature
- Thunderbolt
- Volt Switch
- Flamethrower
- Hidden Power [Ice]

Gengar @ Focus Sash
Ability: Levitate
EVs: 252 SAtk / 252 Spd / 4 HP
Timid Nature
- Shadow Ball
- Focus Blast
- Sludge Bomb
- Destiny Bond

Excadrill @ Choice Scarf
Ability: Mold Breaker
EVs: 252 Atk / 252 Spd / 4 HP
Adamant Nature
- Earthquake
- Iron Head
- Rock Slide
- Rapid Spin

เหตุผลที่ทีมประเภทนี้หายไป เราอาจจะมองไปได้ในแง่ของโปเกมอนตัวใหม่ๆที่เข้ามา ทั้งความสามารถกับท่าใหม่ๆ สภาพอากาศเต็มไปหมด แนวทางการเล่นที่หลากหลายขึ้น ทำให้เราไม่สามารถที่จะเล่นสวีปเต็มกำลังได้ โปเกมอนในเจน 5 มีหลายตัวที่เป็นปัญหากับทีมสวีปมากๆ จริงๆก็ตั้งแต่เจน 4 แล้วหละ ทำให้สมัยเจน 4 ทีมสตอล(จะกล่าวถึงในตอนต่อไป)รุ่งเรืองมากๆ

2. ทีมประเภทสตอล
ทีมสตอล เป็นทีมที่เน้นรับการโจมตีและไม่ได้หวังผลให้ชนะจากการที่โจมตีอีกฝ่ายจนเกิดดาเมจ แต่จะใช้สิ่งรอบสนามและสถานะผิดปกติเข้าช่วยให้เกิดประโยชน์ ทีมสตอลเป็นทีมที่นิยมมากๆในเจน 4 เพราะโปเกมอนที่มีอยู่ตอนนั้น ยังไม่มีความสามารถมากพอในการกำจัดสตอลได้ Mixed Attacker ทั้งหลายเองก็ไม่มีความแรงพอที่จะเก็บพวกโปเกมอนแทงค์หลายๆตัวลง

รูปแบบการจัดทีม : สำหรับการจัดทีมสตอล การเลือกใช้โปเกมอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นจึงไม่เหมาะกับมือใหม่อย่างมาก ถ้าจะลองเล่น ให้ลองเล่นหลังจากที่พอมีฝีมือมีความรู้ ประสบการณ์ ความเข้าใจมาแล้วพอสมควร หลักๆของการเล่นสตอลมีดังต่อไปนี้
1. โปเกมอนที่สามารถวาง Stealth Rock 1 ตัว
2. โปเกมอนที่สามารถวาง Spikes และ Toxic Spikes ได้อย่างละ 1 ตัวหรือวางได้ทั้ง 2 ในตัวเดียว
3. โปเกมอนที่สามารถใช้ท่า Rapid Spin ได้ 1 ตัว
4. โปเกมอนที่เป็นธาตุผี 1 ตัวเพื่อป้องกันอีกฝ่ายใช้ Rapid Spin 1 ตัว
5. โปเกมอนที่สามารถใช้ท่า Roar หรือ Whirlwind ได้ 1 หรือ 2 ตัว
6. โปเกมอนที่สามารถซัพพอร์ตเพื่อนร่วมทีมได้ , โปเกมอนที่สามารถเอามา Rest เพื่อถ่วงเวลาในการยืนยาวได้ หรือโปเกมอนที่มีท่าเพิ่มพลังในตัว 1 หรือ 2 ตัว
7. โปเกมอนที่ถือไอเท็มจำพวก Choice ไว้ เพื่อเอาไว้รับการทริคช้อยส์ของฝ่ายตรงข้าม 1 ตัว

ไม่ต้องแปลกใจนะครับ ว่ามันอาจจะเกิน 6 ตัวแล้ว เพราะโปเกมอนบางตัวสามารถทำได้มากกว่า 1 ข้อในนั้น...

แนวทางการเล่น : การเล่นสตอลนั้นไม่ใช่ง่ายๆและไม่แนะนำกับมือใหม่ แต่มือใหม่ควรอ่านไว้เพื่อทำความเข้าใจในการรับมือ การเล่นสตอลนั้น หลักๆคือการทำให้อีกฝ่ายแพ้ไปโดยที่เราไม่ต้องโจมตี แต่อีกฝ่ายจะได้รับความเสียหายจาก Hazard (หัวข้อ 1.1) จนเกิดความเสียหายเอง ถ้าจะทำให้โดน Hazard เยอะๆเราก็ต้องทำให้เขาเปลี่ยนตัวบ่อยๆ เพราะแบบนี้ โปเกมอนที่มีท่า Roar หรือ Whirlwind จึงขาดไม่ได้ เพราะมันบังคับให้อีกฝ่ายเปลี่ยนตัว พอเปลี่ยนตัวก็จะเจอ Hazard ไปเรื่อยๆ หรืออาจจะติดพิษจาก Toxic Spikes หรือท่า Toxic จนหมดสภาพการต่อสู้ เรามีหน้าที่หลักๆคือประครองโปเกมอนของเราให้อยู่รอด คอยเพิ่มพลัง หาจังหวะที่ได้เปรียบในการรับมือเช่นเอาตัวที่ถนัด Def มารับมือโปเกมอนที่ Atk สูง พอได้เปรียบเขา เขาเสียเปรียบ เขาก็ต้องเปลี่ยนตัวหนี ทีนี้ก็เข้าทางเรา ถ้าเขาไม่เปลี่ยนเราก็ใช้ท่า Roar หรือ Whirlwind บังคับให้เขาเปลี่ยนตัวได้อีก คนที่จะเล่นสตอลได้ ต้องคำนวณความเสียหายเก่งมากๆ ถ้าพลาดเสียไปแม้แต่ตัวเดียวนี่ถึงกับล่มทั้งทีมได้เลยนะครับ ถ้าไม่มี Hazard เราก็สตอลไม่ได้ จึงควรระวังท่า Rapid Spin เป็นพิเศษ หากเผชิญหน้ากับโปเกมอนที่มีท่านี้ ให้เอาโปเกมอนผีออกมารับทันที ที่สำคัญคือต้องเป็นคนที่ใจเย็นมากๆด้วย

3. ทีมประเภทบาลานซ์
ทีมประเภทนี้ นิยมที่สุดตั้งแต่ช่วงยุคเจน 4 หลังๆมาจนถึงตอนนี้ ใน 10 คนน่าจะมีถึง 8 - 9 คนที่เล่นทีมบาลานซ์ เพราะมันเป็นรูปแบบการเล่นที่หลากหลาย มีความสามารถทั้งในด้านการโจมตีและการตั้งรับ เนื่องจากมีบางสถานการณ์ในระหว่างการเล่น เช่นการได้เปรียบหรือเสียเปรียบอีกฝ่าย มันจะผลักดันให้เราเป็นฝ่ายรับหรือเป็นฝ่ายโจมตี ทีมบาลานซ์นี่นไม่จำกัดแนวการเล่นให้ยุ่งยาก ทำให้มีอิสระในการเล่นสูง

รูปแบบการจัดทีม : ทีมบาลานซ์นั้น ต้องมีโปเกมอนที่เป็นพวกสวีปเปอร์(Atk และ S.Atk หรืออาจจะมีพวก Mixed Attack ด้วย) บวกกับโปเกม่อนแทงค์/สตอล (Def และ S.Def) ได้ในทีม และอาจจะมีโปเกมอนที่สามารถซัพพอร์ตเพื่อนร่วมทีมได้ โดยเฉพาะท่า Rapid Spin หรือวาง Hazard ได้หลายๆอย่างก็ได้
แนวทางการเล่น สำหรับการเล่นทีมบาลานซ์นั้น เราจะคำนึงถึงสถานการณ์เป็นหลัก เห็นว่าถ้าเราเสียเปรียบอยู่ก็ต้องแก้เกมให้เกมกลับมาเป็นของเราให้ได้ ด้วยโปเกมอนที่มีอยู่ในมือ เห็นสถานการณ์ไหนควรรุก เราก็ส่งสวีปเปอร์ไปลุย เห็นสถานการณ์ไหนท่าไม่ดี อาจโดนโจมตีจนเสียเปรียบ เราก็ส่งแนวรับในทีมลงไปแก้ไขให้เกมสมดุลเหมือนเดิม โดยบางคนอาจจะเล่นคล้ายๆกับสตอล แต่จะไม่มีตัว Roar หรือ Whirlwind และจะมีตัวสวีปอยู่ในทีมประมาณ 2 ตัวเอาไว้แก้ไขสถานการณ์

เพราะการแนวการเล่นที่หลากหลาย ไม่จำกัดว่าจะต้องรุกหรือรับอย่างเดียว ทำให้ทีมประเภทนี้นิยมสุดๆในช่วงหนึ่ง

Spoiler


Heatran @ Leftovers
Ability: Flash Fire
EVs: 4 SAtk / 252 HP / 252 SDef
Calm Nature
IVs: 30 Atk / 30 Def
- Lava Plume
- Roar
- Stealth Rock
- Protect

Tyranitar @ Choice Scarf
Ability: Sand Stream
EVs: 252 Atk / 252 Spd / 4 HP
Jolly Nature
- Crunch
- Pursuit
- Earthquake
- Stone Edge

Landorus (M) @ Life Orb
Ability: Sheer Force
EVs: 252 SAtk / 252 Spd / 4 HP
Timid Nature
IVs: 30 Atk / 30 Def
- Earth Power
- Focus Blast
- Psychic
- Rock Polish

Scizor @ Scizorite
Ability: Technician
EVs: 252 HP / 252 Atk / 4 Spd
Adamant Nature
- U-turn
- Bullet Punch
- Roost
- Swords Dance

Keldeo @ Choice Specs
Ability: Justified
EVs: 252 SAtk / 252 Spd / 4 HP
Timid Nature
- Hydro Pump
- Secret Sword
- Icy Wind
- Hidden Power [Electric]

Rotom-Wash @ Leftovers
Ability: Levitate
EVs: 56 SAtk / 220 Spd / 232 HP
Modest Nature
- Volt Switch
- Pain Split
- Will-O-Wisp
- Hydro Pump

 

4. ทีมสภาพอากาศ

ข้อนี้คงสำคัญจริงๆสำหรับโปเกมอนในยุคเจเนอเรชั่นที่ 5 เพราะเจ้ากบน้อย #186 Politoed (http://www.smogon.com/xy/pokemon/politoed) และ
#36 Ninetales (http://www.smogon.com/xy/pokemon/ninetales) นั้นได้อบิลิตี้ใหม่ ซึ่งนั่นก็คือ Drizzle และ Drought ซึ่งความสามารถทั้ง 2 นี้ก็คือเวลาส่งโปเกมอนตัวนี้ลงมาในสนาม จะเกิดสภาพอากาศฝนตกและแดดออกทันที ตามลำดับ และที่สำคัญคือ 2 ตัวนี้และอบิลิตี้ของมัน ไม่ถูกแบนใน OU ทำให้เราเห็นทีมสภาพอากาศเต็มไปหมด และยังมี #248 Tyranitar (http://www.smogon.com/xy/pokemon/tyranitar) กับ #450 Hippowdon (http://www.smogon.com/xy/pokemon/hippowdon) ที่มีอบิลิตี้ Sand Stream เรียกสภาพอากาศพายุทราย กับ #460 Abomasnow (http://www.smogon.com/xy/pokemon/abomasnow) ที่มีอบิลิตี้ Snow Warning เรียกสภาพอากาศลูกเห็บตก ซึ่ง 3 ตัวนั้น ในยุคเจน 5 ก็ไม่แบนอีกเช่นกัน ทำให้ในเจน 5 นี้ เรามีโอกาสได้เห็นทีมสภาพอากาศเต็มๆ 4 แบบเลยทีเดียว (จริงๆมีโปเกมอนที่เรียกสภาพอากาศได้นอกเหนือจากนี้อีก แต่มันเป็นตัวที่ยังไม่พัฒนาร่างของโปเกมอนที่บอกไปน่ะแหละ รวมถึงบางตัวอยู่ Uber เลยไม่ได้ยกมา)

เพิ่มเติม : Charizard ร่าง Mega-Y ได้อบิลิตี้ Drought ที่ใช้เรียกสภาพอากาศแดดออก

ผมจะมาอธิบายแนวทางเล่นทีมสภาพอากาศต่างๆเบื้องต้นนะครับ ซึ่งถ้าอยากเข้าใจง่ายๆ กรุณารบกวนอ่านลิงค์ที่อยู่ในชื่อหัวข้อ "ทีมสภาพอากาศ" ก่อนนะครับ

1. ทีมสภาพอากาศแบบฝนตก Rain 
สำหรับทีมฝนนั้น หลักๆนั้นผมแบ่งเป็น 3 อย่าง นั้นก็คือจะเรียกฝนออกมาเพื่อความได้เปรียบในเรื่องของการโจมตี การรับดาเมจ และการสนับสนุนทีม แต่ในเรื่องของการโจมตี มีข้อห้ามตรงที่ว่า ห้ามใช้ร่วมกับอบิลิตี้ Swift Swim (สปีดคูณ 2 ถ้าอยู่ในสภาพอากาศในตก) ถ้าใช้อบิลิตี้ Swift Swim เล่นกับอบิลิตี้ Drizzle จะถูกแบนนะครับ

การโจมตี : ถ้าอ่านลิงค์ตรงหัวข้อแล้ว คงน่าจะเดาได้แล้วนะครับว่าได้เปรียบยังไง เพราะโปเกมอนที่ใช้ท่าของธาตุ :water: โจมตีในระหว่างฝนตก จะทำให้มีความแรงของท่าธาตุ :water: นั้นเพิ่มขึ้นอีก 50% ลองคิดดูนะครับ ถ้าสมมุติตัวที่เป็นโปเกมอนธาตุ :water: เวลาโจมตีจะได้ STAB และความแรงเพิ่มจากฝนตกอีก จะทำให้มันแรงแค่ไหน นี่คือเหตุผลที่อบิลิตี้ Swift Swim ถูกแบนถ้าใช้ร่วมกับ Drizzle ครับ

เพิ่มเติม : STAB คืออะไร? ตอบ : ย่อมาจาก Same Type Attack Bonus หมายความว่า หากโปเกมอนตัวนั้นใช้ท่าโจมตีธาตุเดียวกับท่าของโปเกมอนตัวนั้นๆ จะทำให้ความแรงของท่ามีความแรงเพิ่มอีก 50% นั่นเอง เช่น สตาร์มี่ ที่เป็นธาตุ :water: / :psychic: ถ้าใช้ท่า Surf ซึ่งเป็นท่าของธาตุ :water: จะทำให้ความแรงของท่า Surf ที่ปกติความแรงอยู่ที่ 95 จะได้ความแรงเพิ่มไปอีก 50% เป็น 142.5 นั่นเอง (ถ้าฝนตกอีก ก็บวกไปอีก 50% เพราะฉะนั้นคิดดูแล้วกันครับ ว่าได้เปรียบในการโจมตีแค่ไหน) เช่นเดียวกับท่าของธาตุ :psychic: ก็ได้บวกเหมือนกันสำหรับสตาร์มี่ (แต่ไม่เกี่ยวกับฝนนะ :P)

เพิ่มเติม :  ท่าโจมตี Hurricane และ Thunder มีความแม่นยำ 100% (ไม่มีพลาด)

การรับดาเมจ : ถ้าฝนตกอยู่ จะทำให้ความเสียหายของการโจมตีของธาตุ :fire: ลดลง 50% ซึ่งนั่นก็หมายความว่า คนที่ใช้โปเกมอนธาตุ :grass::steel::bug::ice: ในสภาพอากาศฝนตก เขาย่อมหวังได้เปรียบจากเรื่องนี้อยู่แล้ว ลองคิดดูถึงความน่ากลัวของมันนะครับ สมมุติเราใช้ฮัสซัมที่แพ้แต่ธาตุ :fire: แต่คูณ 4 เท่าในฝน(ก็คิดซะว่าเหมือนฮัสซัมโดน :fire: คูณ 2 ละกันเพราะได้ฝนช่วยลดความแรงไป 50%) แค่นี้ก็สบายแล้วครับ เพราะถึงแม้แต่จะเหลือความเสียหายแค่ 2 เท่าแต่ก็ใช่ว่าจะเก็บมันลงได้ง่ายๆ ถ้าท่าโจมตีนั้นไม่ได้ STAB เช่นเดียวกับธาตุอื่นๆที่กลัว :fire: แต่อยู่ในฝน เพราะมันเหมือนกับทำให้ความเสียเปรียบการโจมตีธาตุ :fire: นั้นหายไปเลย

การช่วยเหลือทีม : ข้อนี้น่าจะสำคัญที่สุดนะ ถ้ามองในภาพรวม เพราะเหมือนการโจมตี/รับดาเมจมันก็เหมือนซับเซ็ตของการช่วยเหลือทีม แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นครับ จะยกตัวอย่างหลักๆให้ดูนะครับ
โปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Rain Dish จะได้ HP เพิ่ม 1/16 ทุกๆเทิร์นในสภาพอากาศฝนตก
โปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Dry Skin จะได้ HP เพิ่ม 1/8 ทุกๆเทิร์นในสภาพอากาศฝนตก (โดนความแรงการโจมตีของธาตุ :fire: เพิ่มขึ้น 25% ได้ HP 25% หากโดนโจมตีธาตุ :water: และจะเสีย HP ทุกๆเทิร์น 1/8 หากอยู่ในสภาพอากาศแดดออก)
โปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Hydration จะรักษาสถานะผิดปกติทันทีเมื่อจบเทิร์น ย้ำนะครับว่าเมื่อจบเทิร์น ไม่ใช่ใครยิงสถานะผิดปกติอะไรมาหายไปเลยทันที

สรุป : ทีมฝนเป็นทีมที่ออกมาในรูปแบบของบาลานซ์ซะส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถเป็นได้ทั้งสตอลและสวีป เป็นทีมสภาพอากาศที่โจมตีได้เปรียบที่สุด และโปเกมอนน้ำเร็วๆก็ยังมีอยู่ เวลาโจมตี จะได้ทั้ง STAB + Rain ทำให้แรงมากๆ ซึ่งถ้าจะเล่นเป็นสตอลหรือบาลานซ์ ก็ยังสามารถใช้บางอบิลิตี้เช่น Rain Dish, Dry Skin ช่วย

2. ทีมสภาพอากาศแบบพายุทราย Sand Storm - SS 
สำหรับทีมพายุทราย จริงๆก็ฮิตไม่แพ้ทีมฝนเลย และจะเด่นในด้านช่วยเหลือทีมอย่างเดียว ผมจะอธิบายเลยละกันนะครับ
ก่อนอื่น มาทบทวนผลของสภาพอากาศแบบพายุทรายที่สำคัญๆกันก่อนดีกว่า

  1. โปเกมอนที่ไม่ใช่ธาตุ :rock::steel::ground: จะได้รับความเสียหาย HP จะลด 6.25% ในทุกๆเทิร์นระหว่างอยู่ในสภาพอากาศแบบพายุทราย แต่ถ้ามีอบิลิตี้ Magic Guard, Sand Veil, Sand Rush หรือ Overcoat แม้ว่าจะไม่ใช่ 1 ใน 3 ธาตุที่บอก HP ก็จะไม่ลดในทุกๆเทิร์นเช่นกัน
  2. S.Def ของโปเกมอนธาตุ :rock: จะเพิ่มขึ้น 50% ย้ำนะว่า 50% เชียวนะ!! และเฉพาะแค่ธาตุ :rock:
  3. พายุทรายกับบางอบิลิตี้
    Sand Veil - เพิ่มการหลบหลีก (Evasion) ของโปเกมอนที่มีอบิลิตี้นี้ 20%
    Sand Rush - สปีดเป็น 2 เท่าในสภาพอากาศแบบพายุทราย และจะไม่ได้รับความเสียหายจากพายุทรายด้วย
    Sand Force - โปเกมอนที่มีอบิลิตี้นี้ เวลาใช้ท่าโจมตีที่เป็นธาตุ :rock::steel::ground: ความแรงจะเพิ่มขึ้น 30%

การช่วยเหลือทีม : อย่างที่บอก ถ้าโปเกมอนธาตุ :rock: อยู่ในพายุทราย จะได้รับ S.Def เพิ่มขึ้น 50% ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ จึงทำให้โปเกมอนธาตุ :rock: มีความ "อึด" และ "ถึก" เพิ่มมาอีกพอสมควรในการป้องกันการโจมตีแบบพิเศษ และที่สำคัญ ยังจะลด HP ของอีกฝ่าย 6.25% ในทุกๆเทิร์นด้วย ลองคิดดูนะครับ ถ้าอีกฝ่ายโดนโจมตีจนเกือบหมดสภาพการต่อสู้(พูดภาษาชาวบ้านนั่นก็คือ "ตาย" นั่นแหละ) เหลือ HP ไม่ถึง 6% แต่ยังรอด แทนที่โปเกมอนตัวนั้นจะรอดเหลือมาโจมตีเราต่อจนเราอาจแพ้ได้ โปเกมอนตัวนั้นกลับเดี้ยงไปซะก่อน นี่คือการยกตัวอย่างความเสียเปรียบของอีกฝ่าย ถ้าเราอยู่ในพายุทราย อีกทั้งพายุทราย ยังมีผลกับบางอบิลิตี้อย่างที่บอกเรื่องอขงผลของสภาพอากาศแบบพายุทรายไปแล้วด้านบน

สรุป :  ทีมพายุทรายเป็นทีมที่ออกมาในรูปแบบของบาลานซ์ซะส่วนใหญ่ แนวการเล่นก็เหมือนกับทีมบาลานซ์ทั่วๆไป คือมีตัวสวีป มีตัววาง Hazards มีตัวช่วยเหลือทีมและป้องกัน เป็นทีมที่จะต้องรู้วิธีรับการโจมตีเป็นอย่างดี เพราะเนื่องจากยังมีทีมสภาพอากาศแบบฝนตก ที่ได้เปรียบ ในทีมจึงต้องมีตัวที่สามารถรับมือกับ :water: ได้เป็นอย่างดี

3. ทีมสภาพอากาศแบบแดดออก Drought
สำหรับทีมสภาพอากาศแบบแดออกนั้น เด่นในด้านของการโจมตีมากที่สุด จริงๆมันจะใช้ช่วยรับดาเมจก็ได้นะ เพราะถ้าโปเกมอนที่ใช้ท่าโจมตีธาตุ :water: ในสภาพอากาศแบบแดดออก ความแรงที่โจมตีมาจะถูกลดความแรงลง 50% แต่มันไม่นิยมอย่างมากเลย เพราะโปเกมอนที่สมควรใช้ความได้เปรียบนี้ กลับเป็นโปเกมอนธาตุ :fire: ที่ส่งเข้าออกบ่อยๆไม่ได้เพราะผลของ Hazard อย่าง Stealth Rock แต่ในทางกลับกัน การโจมตีก็ไม่ได้เด่นมากมายอะไรนักถ้าเทียบกับสภาพอากาศฝน และอบิลิตี้ Chlorophyll ที่คล้ายๆอบิลิตี้ Swift Swim ในทีมฝน ก็ไม่โดนแบน เพราะอะไร? ผมจะเขียนอธิบายไปเรื่อยๆนะครับ ลองจับใจความดูให้ดีๆแล้วจะเข้าใจ

การโจมตี : เมื่อโปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Chlorophyll อยู่ในสภาพอากาศแดดออก จะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทีนี้มันมีความไม่เข้ากันอยู่นี่สิครับ ทำให้มันไม่ถูกแบนต่างกับกรณีของ Swift Swim ในทีมฝน ซึ่งก็คือโปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Chlorophyll นั้น กลับเป็นพวกโปเกมอนพืช แล้วจะให้เอาโปเกมอนพืชมาเล่นในแดด เวลาโดนท่าโจมตีของธาตุ :fire: มาก็จะโดนแรงไปอีก - -* ตายแหงๆ อีกทั้งธาตุ :grass: เวลาโจมตีจะเสียเปรียบหลายธาตุอยู่เหมือนกัน เท่าที่คิดได้ตอนนี้น่าจะ 7 ธาตุเลยทีเดียว ต่างกับธาตุน้ำที่โจมตีเสียเปรียบแค่ 3 ธาตุ และธาตุพืชเวลาโจมตียังไม่ได้ผลของแดดออกที่ทำให้พลังการโจมตีของธาตุ :grass: แรงขึ้นอีกด้วย ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะให้แบนอบิลิตี้ Chlorophyll ในสภาพอากาศแดดออก ถ้าจะให้โปเกมอนธาตุ :fire: ลงมาอัดแทน ก็คงลำบาก เพราะไม่ได้ความเร็วเพิ่ม อีกทั้งอย่างที่บอกธาตุ :fire: เสียเปรียบ Stealth Rock ถ้า เวลาโดนคนอื่นจับทางได้หรือเจอโปเกมอนตัวแต่เอาไม่ลงง่ายๆก็ลำบากละครับ เพราะทำให้เราต้องเปลี่ยนตัวไปด้วย แล้วอีกทั้งสภาพอากาศแบบอื่นๆ ที่เวลาถูกเรียกออกมาโดนโปเกมอนหรือใช้ท่าเรียกเอา สภาพอากาศแบบแดดออกของเราจะหายทันที แค่นี้เราก็อุทานได้ว่า "ชิบหาย" แล้วครับ เพราะทีมสภาพอากาศแบบแแดออกยังไงก็แพ้ทาง พายุทรายกับทีมฝนอีก นี่คือเหตุผลหลักๆที่ทีมแดดไม่ค่อยรุ่งนะครับ จริงๆวิธีแก้ทางทีมสภาพอากาศอื่นๆก็มี แต่ค่อนข้างเล่นยาก แล้วคนที่เล่นทีมแดดเก่งๆก็มีเยอะแยะเหมือนกัน แต่เกิดจากเขาทดลอง แก้ไขทีมมานาน จนทีมนั้นแกร่งพอที่จะเอาไปสู้กับทีมพายุทรายกับทีมฝนจนชนะได้ 

อบิลิตี้หรือท่าอื่นๆที่มีผลในสภาพอากาศแดดออกนอกจากอบิลิตี้ Chlorophyll :
โปเกมอนที่ใช้ท่า Solarbeam ไม่ต้องเสียเวลาในการชาร์จ 1 เทิร์นในสภาพอากาศแบบแดดออก
โปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Solar Power จะได้รับ S.Atk เพิ่มขึ้น 50% แต่เสีย HP 12.5% ในทุกๆเทิร์น
โปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Leaf Guard จะไม่ได้รับความเสียหายจากสถานะผิดปกติเวลาอยู่ในสภาพอากาศแบบแดดออก
โปเกมอนที่ใช้ท่า Growth จะเพิ่ม S.Atk และ Atk 2 ขั้น ถ้าใช้แบบไม่ได้อยู่ในสภาพอากาศแบบแดดออก จะเพิ่มแค่อย่างละ 1 ขั้น
โปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Dry Skin จะเสีย HP 12.5% ในทุกๆเทิร์น(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอบิลิตี้นี้ในหัวข้อทีมสภาพอากาศแบบฝนตกนะครับ)
ท่าโจมตี Hurricane และ Thunder จะมีความแม่นยำแค่ 50%

สรุป :  ทีมแดดเป็นทีมที่ค่อนข้างออกมาในรูปแบบสวีปมาก โดยมีตัวที่มีอบิลิตี้ Chlorophyll และ Solar Power เป็นตัวสวีป แนวการเล่นก็เหมือนสวีปทั่วๆไป แต่ต้องอยู่ภายในสภาพที่แดดออกเท่านั้น โดยทีมแดด ในความคิดของผม เป็นทีมที่เล่นยากที่สุดพอๆกับทีมสภาพอากาศแบบลูกเห็บเลย เพราะเนื่องจากมีคิวค่อนที่แพ้ทาง Stealth Rock เมื่อเจอสภาพอาหาศอื่นๆทำให้ลำบาก เพราะต้องคอยเอามันออกมาบ่อยๆ เพื่อเรียกแดดออกมาใหม่

4. ทีมสภาพอากาศแบบลูกเห็บตก Hail 
เป็นทีมสภาพอากาศที่นิยมน้อยที่สุดใน 4 สภาพอากาศ เพราะว่าเล่นยากมากๆ ถ้าใครที่ไม่ชำนาญจริงๆเล่นให้ตายยังไงก็ไม่รอดครับ แนวทางของทีมสภาพอากาศแบบลูกเห็บตก จะมีเพียงอย่างเดียว คือการช่วยเหลือทีม ดังนั้นเรามาทบทวนผลของสภาพอากาศแบบลูกเห็บตกกันก่อนนะครับ
ที่หลักๆที่เกี่ยวข้องก็มี :
1.ท่าการโจมตี Blizzard มีความแม่นยำ 100% (ไม่มีพลาด)
2. โปเกมอนที่ไม่ใช่ธาตุ :ice: จะได้รับความเสียหาย HP ลด 6.25% ในทุกๆเทิร์น

การช่วยเหลือทีม : โปเกมอนที่มีอบิลิตี้ Ice Body HP จะเพิ่ม 6.25% ในทุกๆเทิร์นบวกกับในสภาพอากาศลูกเห็บตกจะทำให้ HP อีกฝ่ายลดลง 6.25% ในทุกๆเทิร์น ถ้าใครที่เก่งแล้วคงจะเดาออกทันทีว่าผมกำลังจะบอกว่าให้เล่นแบบไหน คำตอบง่ายๆก็คือเล่นถ่วงนั่นเองครับ โดยการใช้ Hazard ช่วยในที่พูดไปในตอนแรกนั่นแหละครับ สำหรับ Hazard ที่เหมาะกับทีมนี้ที่สุดก็คือ Toxic Spikes ให้อีกฝ่ายติดพิษ และเราก็ถ่วงเขาให้ได้นานที่สุด เผื่อให้ฝ่ายตรงข้ามตายเพราะพิษโดยที่เราแค่คอยประครองโปเกมอนของเราไม่ให้หมดสภาพการต่อสู้แค่นั้นเอง อาจจะใช้ Toxic ช่วย ฝ่ายตรงข้ามยังจะโดนความเสียหายจากลูกเห็บตกอีกด้วย การเล่นทีมลูกเห็บจึงไม่เหมาะกับมือใหม่อย่างแรง เหมาะกับคนที่คิดว่าตัวเองมีฝีมือแล้วต้องการจะพิสูจน์ตัวเองมากกว่า โดยยังมีอบิลิตี้อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Snow Cloak ที่จะเพิ่มการหลบหลีก (Evasion) ขิงโปเกมอนขึ้น 25%

สรุป :  เป็นทีมที่ออกมาในรูปแบบสตอล(แทบจะ)เต็มตัว แนวการเล่นคือเอาโปเกมอนถึกๆที่มีอบิลิตี้ Ice Body ใช้คู่กับไอเท็ม Leftovers ทำให้ได้ HP พิ่มต่อเทิร์นถึง 12.5% ต่อเทิร์น แล้วก็ Substitude หรือ Protect ไปเรื่อยๆ จนอีกฝ่ายโดนความเสียหายจากลูกเห็บหรือสถานะผิดปกติตายเอง ทำให้จำเป็นมากที่จะต้องปัด Hazard ออกไปให้หมด เพราะธาตุ :ice: กลัว Stealth Rock ที่สำคัญคือต้องคำนวนเก่ง ทำให้ทีมสภาพอากาศแบบลูกเห็บ เป็นทีมสภาพอากาศที่เล่นยากที่สุดไปเลย

เพิ่มเติม: อบิลิตี้ Magic Guard , Overcoat และโปเกมอนที่ถือไอเทม safety goggles จะไม่โดนความเสียหายจากสภาพอากาศ พายุทราย และ ลูกเห็บตก

ในปัจจุบัน (Generation 6) : ผู้คนเริ่มให้ความสนใจ/สำคัญกับสภาพอากาศน้อยลงไป เนื่องจากทุกสภาพอากาศไม่ว่าจะด้วยการเรียกด้วยวิธีใดก็อยู่ได้แค่ 5-8เทิร์นเท่านั้น ไม่ว่าจะจากการใช้ท่าอย่าง Sunny Day, Rain Dance และ Sandstorm หรือจะเรียกด้วยโปเกมอนที่มีอบิลิตี้สร้างสภาพอากาศก็ไม่ต่างกัน จากเมื่อก่อนที่นิยมใช้โปเกมอนที่มีอบิลิตี้สร้างสภาพอากาศ เพราะสามารถอยู่ได้ถาวรจนกว่าจะโดนสภาพอากาศอื่นมาทับ กลายเป็นว่าต้องมาอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดเพียงแค่ 5 หรือ 8 เทิร์น ทำให้แทบไม่มีใครที่จะกล้าสร้างทีมที่เล่นกับสภาพอากาศแบบจริงๆจังๆ

:pokeball-s:ขอขอบคุณ
ท่าน Paytong เจ้าของบทความต้นฉบับด้วยครับ
สามารถเข้าไปอ่านต้นฉบับได้ที่นี่ มือใหม่ Pokemon Showdown? เรามีทางออกให้!!? คู่มือสำหรับมือใหม่ฉบับละเอียดยิบ!!!

0 Comments


Recommended Comments

There are no comments to display.

Please sign in to comment

You will be able to leave a comment after signing in



Sign In Now
×
×
  • Create New...

Important Information

By using this site, you agree to our Terms of Use and Privacy Policy. We have placed cookies on your device to help make this website better. You can adjust your cookie settings, otherwise we'll assume you're okay to continue.