Jump to content
We are currently closing new member registration for the time being. We apologize for the inconvenience. ×

[แหล่งรวมข้อมูล] ท่านรู้จักกองทัพไทยดีพอแล้วหรือ? (อัพเรื่อง F-16)


Retia Adolf

Recommended Posts

http://www.youtube.com/watch?v=NZkcuq5cOd8&feature=player_embedded

เครดิต : บอร์ด Thai Fighter Club

Royal Thai Armed Force.. กองทัพไทย ความเกรียงไกรที่แท้จริง...

ยังมีอีกหลายสิ่งที่เรายังไม่รู้ดีพอ เกี่ยวกับกองทัพไทย บางสิ่งเป็นความลับสุดยอดไม่เอาออกมาโชว์ชาวบ้านชาวช่องเขา อย่าดูถูกกองทัพไทย เพราะไทยเราก็มีดี...

ป.ล. - กำลังปรับปรุงครับผม

Link to comment
Share on other sites

สารบัญ

-เหยี่ยวเวหาแห่งน่านฟ้าไทย F-16

(ใครทำลิ้งค์เรปเป็นมั่งบอกที = ="")

Link to comment
Share on other sites

http://www.youtube.com/watch?v=GNYezMSlkbM&feature=related

เหยี่ยวเวหาแห่งน่านฟ้าไทย F-16

หากจะพูดถึงเครื่องบินรบของกองทัพอากาศไทยแล้ว ถ้าได้ลองถามผู้คนสัก 10 คน ว่า รู้จักเครื่องบินรบของ ทอ. ลำไหนบ้าง 8 ใน 10 คนจะต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า F-16 เป็นแน่ ปัจจุบัน F-16 เป็นเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้า (Front Line Fighter) แห่งน่านฟ้าไทย มายาวนานกว่า 20 ปี จนกลายเป็นเครื่องบินรบที่ทุกคนกล่าวขวัญถึงมากที่สุด

4-2.jpg

ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ไทยมีแนวโน้มว่าจะถูกภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์รุกราน ทำให้กองทัพอากาศไทยจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยสำหรับรับมือกับภัยอันตราย โดยในขณะนั้นเครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้าของไทยมีเพียงแค่ F-5 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่เจ็ทยุคที่ 3 ที่พอฟัดพอเหวี่ยงกับ MIG-23 ของเวียดนามเท่านั้น

แต่เมื่อพูดถึงปริมาณ มันกลับต่างกันถึง 1 ต่อ 3กองทัพอากาศไทยจึงเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่ โดยมีตัวเลือก 2 ตัวคือ F-20 Tigershark ของบริษัท Northrop Grumman และ F-16 Fighting Falcon ของบริษัท Lockheed Martin

X6770108-5.jpg

โดยกองทัพอากาศไทย ได้เลือก F-16 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ตรงต่อความต้องการของกองทัพ แต่สหรัฐฯกลับต้องการขาย F-16/79 ซึ่งเป็น F-16 ที่ลดสมรรถนะลงมา ทั้งแรงขับเครื่องยนต์ ทั้งการบรรทุกอาวุธ รัศมีปฏิบัติการ ให้กลับไทย

แต่กองทัพอากาศไทย ก็ได้ยื่นคำขาดว่าต้องการ F-16A/B Block 15OCU เท่านั้น โดยอ้างเหตุผลคือ ต้องการกำลังรบที่ทันสมัยสำหรับการต่อกรกับการวางกำลังเป็นจำนวนมากของเครื่องบินรบโซเวียตแบบ MIG-23 ของเวียดนาม ด้วยการกดดันจากไทยและบริษัทผู้ผลิต ในที่สุด สหรัฐฯ จึงอนุมัติการขาย F-16A/B Block 15 OCU ในปี พ.ศ. 2528

aagbig.jpg

โดยครองการที่กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ F-16 นั้นมี 4 โครงการด้วยกัน ดังนี้

โครงการที่ 1 : Peace Naresuan I (นเรศวรสันติ 1)

กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ F-16A รุ่นที่นั่งเดี่ยว จำนวน 8 ลำ และ F-16B รุ่น 2 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำในปี 2528 ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี 2531 ปัจจุบันเป็น F-16 ฝูงแรกของไทยที่ประจำการอยู่ที่ กองบิน 1 โคราช ฝูงบิน 103 Lightning

X6770108-7.jpg

โครงการที่ 2 : Peace Naresuan II (นเรศวรสันติ 2)

กองทัพอากาศจัดหา F-16A รุ่นที่นั่งเดี่ยวเพิ่มเติมอีก 6 ลำ ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี 2534 ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ กองบิน 1 โคราช ฝูงบิน 103

X6770108-9.jpg

โครงการที่ 3 : Peace Naresuan III (นเรศวรสันติ 3)

ในปี 2537 กองทัพอากาศพิจรณาเครื่องบินขับไล่/โจมตีฝูงใหม่ โดยมีตัวเลือกคือ F-16A/B, A-10A และ F-7M ซึ่งกองทัพอากาศได้จัดหา F-16 เช่นเดิม โดยเป็น F-16A รุ่นที่นั่งเดี่ยว จำนวน 12 ลำ และ F-16 รุ่น 2 ที่นั่งจำนวน 6 ลำ

F-16 ฝูงนี้ได้รับการออกแบบให้ทำภารกิจขับไล่/โจมตีกลางคืนโดยเฉพาะ โดยติดตั้งกระเปาะช่วยเดินอากาศ (Navigation Pod) แบบ Rubis สำหรับปฏิบัติการในเวลากลางคืน และ กระเปาะชี้เป้า (Targeting Pod) แบบ Atlas II โดยรุ่นสองที่นั่ง ห้องนักบินผู้ช่วยจะถูกปรับปรุงให้เป็นที่นั่งของนายทหารอาวุธ (Weapon System Officer) ทำหน้าที่ทำงานกับระบบอาวุธและเรด้าห์ในการโจมตีภาคพื้น ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 403 Cobra กองบิน 4 ตาคลี

X6770108-10.jpg

โครงการที่ 4 : Peace Naresuan IV (นเรศวรสันติ 4)

กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet จำนวน 8 ลำเพื่อเป็นเครื่องบินขับไล่ใหม่ของไทย แต่จากวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนั้น ประเทศไทยประสบกับภาวะขาดงบประมาณอย่างรุนแรง ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ กองทัพอากาศไทยจึงเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ ให้ซื้อสัญญา F/A-18 ทั้ง 8 ลำกลับไป ปัจจุบัน F/A-18 ทั้ง 8 ลำ ประจำการอยู่ในหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ เป็นฝูงสุดท้ายที่ใช้รุ่น C/D

แต่กำลังรบของกองทัพอากาศไทยยังขาดไปอีก 1 ฝูงบิน ในปี 2542 กองทัพอากาศจึงจัดหา F-16 ADF มือสองจำนวน 16 ลำ เป็นรุ่นที่เดี่ยวจำนวน 15 ลำ และ รุ่น 2 ที่นั่งจำนวน 1 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่เกินความต้องการของสหรัฐฯ โดยใช้เงินที่เคยจ่ายไปในโครงการจัดหา F/A-18 และเงินที่กองทัพอากาศฝากไว้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อดำรงความพร้อมรบทางอากาศของกองทัพไทย

F-16ADF เป็นเครื่องบินแบบแรกของไทยที่มีความสามารถในการใช้อาวุธปล่อย อากาศสู่อากาศระยะกลาง มีความสามารถในการโจมตีข้าศึกที่ระยะเหนือสายตา (Beyond Visual Range) โดยกองทัพอากาศได้จัดหาขีปนาวุธแบบ AIM-120 AMRAAM มาติดตั้งใช้งานกับ F-16ADF ปัจจุบันฝูงบินนี้ถูกประจำการอยู่ที่ ฝูงบิน 102 Star กองบิน 1 โคราช

8-2.jpg

ในปี 2547 กองทัพอากาศสิงคโปร์ ได้มอบ F-16A/B ให้ไทยจำนวน 7 ลำ โดยเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยว 3 ลำ และ รุ่น 2 ที่นั่ง 4 ลำ เป็นข้อแลกเปลี่ยนให้กับกองทัพอากาศไทยให้พื้นที่แก่กองทัพอากาศสิงคโปร์เข้ามาทำการฝึกในประเทศไทย

F-16 เหยี่ยวเวหาแห่งสันติ

กว่า 20 ปีที่ผ่านมา.. F-16 ได้สร้างความเหนือกว่าทางด้านการครองอากาศ ทำให้เหตุขัดแย่งกับประเทศเพื่อนบ้านหลายครั้ง จบลงอย่างง่ายดาย เพียงแค่มี F-16 บินคุมเชิง.. แค่เสียงคำรามของเครื่องยนต์ ก็แสดงถึงความเหนือกว่าทางเวหานุภาพแล้ว..

F-16 ที่ประจำการในประเทศไทย ในปัจจุบัน

F-16 ที่ยังประจำการในประเทศมีด้วยกัน 3 ฝูงบิน ดังนี้..

-ฝูงบิน 103 Lightning กองบิน 1 โคราช สัญลักษณ์ติดแพนหางดิ่งรูปสายฟ้า

1143910665.jpg

-ฝูงบิน 403 Cobra กองบิน 4 ตาคลี สัญลักษณ์ติดแพนหางดิ่งรูปงูจงอาง

1143910258.jpg

-ฝูงบิน 102 Star กองบิน 1 โคราช สัญลักษณ์ติดแพนหางดิ่งรูปดาววิ่ง

1143910379.jpg

ตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา เทคโนโลยีทางการทหาร ก็ยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และ F-16 เอง ก็จำเป็นต้องทำการอัพเกรดปรับปรุงด้วยเช่นกัน เพื่อต่อกรกับเครื่องบินขับไล่ขนาดหนักอย่าง Su-30 ของมาเลเซียและเวียดนาม หรือ F-15SG ของสิงคโปร์ กองทัพอากาศจึงเริ่มทำโครงการ MLU (Mid Life Upgrade) เพื่อเพิ่มความทันสมัยให้กับ F-16 แห่งกองทัพไทยต่อไป..

โดยการทำ MLU ครั้งล่าสุดนี้ จะทำให้ F-16A/B Block 15 ของไทยมีความสามารถทัดเทียม F-16C/D Block 52 ของสหรัฐฯ เลยทีเดียว

เหตุฉไนจึงไม่เลือก F-16C/D?

ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่สำหรับทดแทน F-5E/F ซึ่งใกล้จะปลดประจำการแล้วนั้น มีตัวเลือกหลักๆ 3 ตัวเลือกคือ Jas-39C/D Gripen ของบริษัท Saab ประเทศสวีเดน, F-16C/D Block 52+ ของบริษัท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐฯ และ Su-30MKI ของบริษัท Sukhoi ประเทศรัสเซีย

เหตุฉไนโครงการนี้ กองทัพถึงไม่เลือก F-16C/D เข้าประจำการ? เนื่องจากข้อเสนอของสหรัฐฯ นั้น ตอนแรกได้กล่าวเอาไว้ว่า ถ้าซื้อ F-16C/D จะทำการอัพเกรดฝูงเก่าให้ฟรี.. แต่กลับกลายเป็นว่า ซื้อแล้ว ไม่มีอะไรเลย เพราะ สหรัฐฯ มั่นใจในประสิทธิภาพของเครื่องบิน และคิดว่าไม่จำเป็นต้องแถมอะไร จึงทำให้ F-16 ไม่น่าคุ้มค่าที่สุดในตัวเลือกทั้ง 3 ตัวไปโดยปริยาย

20080604raaf8144078_0073_lo.jpg

ข้อดี

1.นักบินไทยมีความคุ้นเคยและชำนาญกับ F-16 มาก ทำให้การฝึกเปลี่ยนแบบและการจัดตั้งฝูงบินใหม่ทำได้ในเวลาไม่นานและมีประสิทธิภาพ

2.ช่างไทยมีความชำนาญมากในการซ่อมบำรุง เพราะเป็นระบบที่คุ้นเคยใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน

3.อะไหล่หาได้ง่าย เพราะมีสายการบำรุงที่ดี และมีผู้ใช้จำนวนมากทั่วโลก

4.ลดแบบอากาศยานที่ประจำการ ทำให้มีอากาศยานแบบเดียวจำนวนมาก ส่งผลทำให้ประหยัดงบประมาณในการฝึก การซ่อมบำรุง และการจัดตั้งสายการส่งกำลังบำรุง

5.กองทัพอากาศไทยคือผู้ใช้ F-16 ที่ดีที่สุดในโลก จากประวัติการใช้งานกว่า 20 ปี กองทัพอากาศไทย ไม่เคยเสีย F-16 ในการประสบอุบัติเหตุตกระหว่างบินเลยแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งเป็นกองทัพเดียวในโลก ที่สามารถทำได้

ข้อเสีย

1.ไม่ได้เครื่องบินที่ทันสมัยกว่าเพื่อนบ้านเข้าประจำการ ทำให้ไม่สามารถสร้างความแตกต่างได้มากนักในดุลยภาพทางทหารในภูมิภาค

2.ขาดโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะเป็นเทคโนโลยีเดิม จากค่ายเดิม

3.ไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือได้ แต่น้อย เพราะสหรัฐฯ ไม่มีนโยบายถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทหาร

ถึงแม้จะมีข้อเสียน้อย แต่ ร้ายแรง ซึ่งเหมือนกันกับ Su-30MKI ที่มีข้อเสีย ส่วน Gripen นั้นแทบจะไม่มีข้อเสียใดๆเลย โครงการจัดหานี้จึงตกไปที่ กริเพนในที่สุด

20080604adf8208022_312_lo.jpg

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน F-16 ยังคงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามใหม่ๆ F-16 ได้รับความไว้วางใจจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก และประจำการว่า 4,000 ลำทั่วโลก มันได้สร้างตำนานเสืออากาศเอาไว้มากมาย และได้พิสูจน์ตนเองในสงครามหลายครั้ง ถ้าจะพูดว่า F-16 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ดีที่สุดในโลก ก็คงจะไม่ผิดนัก

800px-World_operators_of_F-16_2007.png

สีแดงคือ สีของประเทศที่มี F-16 ประจำการ

Link to comment
Share on other sites

เอาล่ะ หลังจากเรียบเรียงข้อมูลอยู่นานมาก..

ขอบอกเลยว่ายังผิดหลักการเขียนบทความอยู่นิดหน่อย ยังมีอะไรต้องปรับปรุงอีกเยอะนะ

เรื่องเว้นวรรคนี่ก็สงสารสาวแก่ๆที่สายตาไม่ดีบ้าง อ่านแล้วปวดตาอย่างแรง

เข้าเรื่อง เนื้อหา สารภาพตามตรงว่าค่อนข้างดีใจที่ได้เห็นแบบนี้

เอาเข้าจริงๆประเทศเราก็ทำได้ดีเหมือนกันล่ะเนอะ (คงต้องยกวเ้นบางเรื่องไปมั่งล่ะนะ)

Link to comment
Share on other sites

เอาล่ะ หลังจากเรียบเรียงข้อมูลอยู่นานมาก..

ขอบอกเลยว่ายังผิดหลักการเขียนบทความอยู่นิดหน่อย ยังมีอะไรต้องปรับปรุงอีกเยอะนะ

เรื่องเว้นวรรคนี่ก็สงสารสาวแก่ๆที่สายตาไม่ดีบ้าง อ่านแล้วปวดตาอย่างแรง

เข้าเรื่อง เนื้อหา สารภาพตามตรงว่าค่อนข้างดีใจที่ได้เห็นแบบนี้

เอาเข้าจริงๆประเทศเราก็ทำได้ดีเหมือนกันล่ะเนอะ (คงต้องยกวเ้นบางเรื่องไปมั่งล่ะนะ)

อืม ก็จริงแฮะ ต้องปรับอีกเยอะล่ะฉัน ฮ่ะๆๆ ขอบคุณมากนะ เอาล่ะ เรื่องต่อไป จะเอา กริเพน หรือ F-5 หรือ ไปกองทัพบก กองทัพเรือก่อนดีหนอ...

Link to comment
Share on other sites

Please sign in to comment

You will be able to leave a comment after signing in



Sign In Now
  • Recently Browsing   0 members

    • No registered users viewing this page.
×
×
  • Create New...

Important Information

By using this site, you agree to our Terms of Use and Privacy Policy. We have placed cookies on your device to help make this website better. You can adjust your cookie settings, otherwise we'll assume you're okay to continue.