Jump to content
We are currently closing new member registration for the time being. We apologize for the inconvenience. ×

พูดคุย,แลกเปลี่ยน,รวบรวม ข้อมูลกองทัพต่างๆทั่วโลก *เปิดทำการ*


Retia Adolf

Recommended Posts

อา ยามาโต้นี่น่าเสียดายนะ ถือเป็นเรืออีกลำหนึ่งที่ผมค่อนข้างชอบทีเดียว..

ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ AIM-9 และ AIM-7 คงต้องยืดออกไปอีกครับ คิดว่าพรุ่งนี้จะลงให้ ยังไงก็ รอชมได้ครับ

Link to comment
Share on other sites

  • Replies 171
  • Created
  • Last Reply

Top Posters In This Topic

  • Retia Adolf

    93

  • bikemaster

    26

  • System W

    18

  • sling-shot

    18

Sturmgewehr 44 (StG.44) : ปืนไรเฟิลจู่โจมแบบแรกของโลก

artsmen-dot-net_ans10604_962962.jpg

"SturmGewehr" มีความหมายว่า "Storm Rifle"

(Storm Troopers คือชื่อเรียกของกองทัพบกนาซีที่มีความสามารถจู่โจมได้รวดเร็วคล้ายพายุ ดังนั้น Storm Rifle ก็คือ ปืนไรเฟิลจู่โจมของกองทัพบกนาซี)

เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ กองทัพบกอังกฤษ จึงเรียกมันว่า "Assault rifle model 1944" หรือปืนไรเฟิลจู่โจมโมเดล 1944

โดย StG.44 นั้นได้รวมคุณสมบัติของ Carbines (ปืนไรเฟิลที่เบาและสั้น) Submachine guns (ปืนกลเบา) และ Automatic rifles (ปืนไรเฟิลอัตโนมัติ)

จนกลายมาเป็นปืนไรเฟิลจู่โจมแบบแรกของกองทัพบกนาซีและแบบแรกของโลก ซึ่งปืนไรเฟิลจู่โจมที่ผลิตกันต่อๆ มาก็อาศัยพื้นฐานของ StG.44 แทบทั้งสิ้น

artsmen-dot-net_ans10779_73417341.jpg

Walther MKb 42(W)

StG.44 พัฒนามาจากปืนต้นแบบ MKb.42 - MachinenKarabine, 1942 (Machine Carbine)

โดยในช่วงเริ่มต้นมีบริษัทสองแห่งร่วมกันพัฒนาคือ Karl Walther (MKb.42(W)) และ C.G.Haenel (MKb.42(H))

ปืนทั้งสองแบบนี้ได้รับการคาดหมายกันว่าจะมาแทนที่ปืนกลเบาและปืนกลหนักที่เหมาะสมกับทหารในแนวหน้า มันถูกออกแบบให้เป็นได้ทั้งปืนไรเฟิลและปืนพก

ที่มีขนาดกระสุน 7.92x33 mm (7.92mm Kurz) ซึ่งปลอกกระสุนออกแบบโดยบริษัท Polte company มีระบบการทำงาน แบบGas-operated,Tilting Bolt

อัตรายิง500-600นัด/นาที มีซองบรรจุกระสุนแบบ 30 นัด (30 round detachable box magazine

artsmen-dot-net_ans10780_56255625.jpg

Haenel MKb 42(H)

หลังจากปืนต้นแบบ MKb.42(H) ซึ่งออกแบบโดย Hugo Schmeisser ได้เข้าสู่สายการผลิตจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น MP-43 (MachinenPistole, 1943 - Machine pistol 1943 - ปืนพกกล)

ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงแนวคิดของ Hitlers ที่ไม่ต้องการผลิตปืนประเภท Submachine guns -SMGs ขึ้นมาอีก

- ในขณะนั้นมีแต่ปืนกลหนัก ปืนไรเฟิล ปืนพกและปืนพกกล ยังไม่มีปืนไรเฟิลจู่โจม

artsmen-dot-net_ans10781_69426942.jpg

The Maschinenpistole 43 (MP43)

หลังจาก MP-43 เยอรมันก็ได้ส่งรุ่น MP-44 ออกมาอีกซึ่งได้รับการยอมรับจากทหารในแนวหน้าว่ามีความน่าเชื่อถือในการยิงและเล็ง

ต่อมา Hitlers จึงยอมรับมันและตั้งชื่อใหม่ให้มันว่า SturmGewehr 44  ซึ่งถูกผลิตออกมามากกว่า 5 แสนกระบอก

แต่มันก็สายเกินไปที่จะช่วยให้เยอรมันชนะสงครามได้ หลังสงคราม StG.44 ก็ปิดสายการผลิตมีเพียงบางประเทศที่ยังใช้มันต่อมาอีก

คือ อดีตเยอรมันตะวันออก อดีตยูโกสลาเวีย และบางประเทศในทวีปแอฟริกา

artsmen-dot-net_ans10782_37633763.jpg

ส่วนประกอบต่างๆ ของ StG.44

เมื่อเทียบ StG.44 กับปืนไรเฟิลจู่โจมสมัยใหม่ StG.44ก็ยังมีข้อบกพร่องมากมาย เช่น มีน้ำหนักมากเกินไป (หลักมากกว่า 5 กิโลกรัม)

ไม่มีความสะดวกสบายในท่านอนยิง ส่วนพานท้ายปืนก็ไม่แข็งแรงและสามารถหักได้ด้วยมือเปล่า (พานท้ายปื้นทำมาจากไม้)

แต่ไม่ว่ามันจะมีข้อด้อยอะไรก็ตาม สำหรับ StG.44 มันก็ยังคือต้นแบบของปืนไรเฟิลจู่โจมของโลกอยู่ดี

หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ... ^ ^"

Credits : จิ้มเอง

Link to comment
Share on other sites

โดนตัดหน้าซะแล้ว  :pika08:

ถ้าว่ากันแล้ว STG 44 เหมือนจะไม่มีจุดอ่อนอะไรที่ให้เห็นในด้านการยิงเลยทีเดียว เพราะทั้งท่ายิงที่ไม่สะดวกสบาย พานท้ายปืนที่หักง่าย ก็ไม่ส่งผลต่อการรบแต่อย่างใด

Link to comment
Share on other sites

โดนตัดหน้าซะแล้ว  :pika08:

ถ้าว่ากันแล้ว STG 44 เหมือนจะไม่มีจุดอ่อนอะไรที่ให้เห็นในด้านการยิงเลยทีเดียว เพราะทั้งท่ายิงที่ไม่สะดวกสบาย พานท้ายปืนที่หักง่าย ก็ไม่ส่งผลต่อการรบแต่อย่างใด

กูรุทบ. เรา โดนตัดหน้าซะแล้ว 555555+

Link to comment
Share on other sites

กูรุทบ. เรา โดนตัดหน้าซะแล้ว 555555+

ไม่เป็นไร เดี๋ยวพรุ่งนี้เอา STG 44 จีนดาวแดง มาลงแทน  /ไม่ได้ลงของจริงก็ลงของก๊อปไป

Link to comment
Share on other sites

ไม่เป็นไร เดี๋ยวพรุ่งนี้เอา STG 44 จีนดาวแดง มาลงแทน  /ไม่ได้ลงของจริงก็ลงของก๊อปไป

เอางั้นเลยรึท่าน... =w="

เรื่องข้อเสียของ STG 44 จริงๆมันก็แทบไม่มีอ่ะครับ...

แต่ถ้าเทียบเรื่องความถี่ของกระสุนหรือระยะหวังผลกับปืนสมัยนี้แล้วมันก็ถือว่าน้อยไปอ่ะครับ... =w="

Link to comment
Share on other sites

Dogfights 'Dogfights of the Middle East' 'อิสราเอล เจ้าเวหา พิฆาตฟ้า'

-ในภูมิภาคตะวันออกกลาง กองทัพอากาศที่น่ากลัวที่สุดในโลก ที่ได้รับชัยชนะเหนือกว่ากองทัพอากาศใดๆในโลก 'กองทัพอากาศอิสราเอล' ภารกิจของพวกเขา ตั้งแต่การขับ Mirage III จน ถึง F-15 ห้ำหั่นกับศตัรูในภูมิภาคด้วยฝีมือที่เหนือกว่า ได้เริ่มขึ้นแล้ว

http://www.youtube.com/watch?v=u3PaWJbHIPQ

http://www.youtube.com/watch?v=RgtNDympC_4&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=qkDp26N0x9Q&feature=related

Credit : รายการ ปฏิบัติการสะท้านโลก 'Dogfights' ช่อง ThaiPBS ให้เสียงภาษาไทย และ ซับไทยแก่สารคดีอันมีคุณค่าแห่งโลกของคนชอบการรบในอดีตครับ

------------------------

ข้อมูลเครื่องบิน คงลงไม่หมดครับวันนี้ อาจจะต้องขอผ่อนไปพรุ่งนี้ด้วย เพราะตอนนี้ตามีปัญหานิดหน่อยครับ ต้องขอโทษด้วย

Link to comment
Share on other sites

ไม่มีอะไรมาลงแฮะ......  :pika02:

ระเบิดไม่ค่อยมีข่าวอ่ะครับ

Link to comment
Share on other sites

จากเท่าที่ผมรู้มาในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในปี 1967...

รู้สึกว่าทัพอากาศอสราเอลจะสามารถปฏิบัติการโจมตีทางอากาศจะสามารถทำลายเครื่องบินของฝ่ายอาหรับได้ถึง 452 เครื่อง

โดยอาหรับเสียเครื่องบินไปเพียง 19 เครื่องซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องบินขัดข้อง...

ข้อมูลในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล : จิ้มเอง

--------------------------------------------

ลงข้อมูลปืนมั่ง... =w=

Lee Enfield

lee-enfield_000.jpg

ปืนไรเฟิลประจำกองทัพบกอังกฤษมีใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่1จนถึงปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่เป็นไรเฟิลลูกเลื่อนเหมือนของเยอรมัน

แต่ข้อแตกต่างของมันก็คือบรรจุกระสุนได้มากกว่าคือ 10 นัดโดยตลับกระสุนจะแบ่งเป็น 2 ตลับๆละ 5 นัด

ในช่วงสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งนั้น มันถูกใช้งานในการซุ่มโจมตีศัตรู ซึ่งภายหลังมันก็ถูกนำไปใช้สำหรับฝึกทีมสไนเปอร์ในบางประเทศ

มันถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1895 ออกแบบโดย James Paris Lee

สำหรับกระสุนที่ใช้เป็นกระสุน .303 Mk VII SAA Ball  ระยะที่หวังผลอยู่ที่ประมาณ 503 เมตร แต่ระยะสูงสุดที่สามารถยิงได้คือ 2703 เมตรโดยประมาณ

ความเร็วของกระสุนประมาณ 744 m/s น้ำหนักปืนประมาณ 4 กก. ความยาวปืนรวม 113 ซม. โดยประมาณ

รูปเพิ่มเติม :

lee_enfield-cleaning-kit-offer.jpg

กระสุน+ตลับ

no4mk1.jpeg

Lee enfield No.4 Mk 1

หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ...^ ^"

Credits : Wiki,W.W.II

ปล.อันนี้ผมลองนั่งแปลเฉพาะข้อมูลบางส่วนตามที่เข้าใจนะครับหากผิดพลาดประการใดก็แย้งได้ครับ... - -"

Link to comment
Share on other sites

อยากได้ข้อมูลเรืออะไรเดี๋ยวเอามาลงให้วันนี้หมดอารม :pika08:

รีเควสไว้เลยครับ

โอ้ น้องหมอนเดี๋ยวพรุ่งนี้มาลงHoodให้ วันนี้ไม่ได้เล่นDJ Maxไม่มีอารมมาลงรีวิว :pika11:

Link to comment
Share on other sites

ขอเลื่อนการลงบทความเป็นพรุ่งนี้หนอ วันนี้ชักไม่ไหว  :pika08:

Link to comment
Share on other sites

ที่จริงผมไม่ใช่คนสนใจอะไรในเรื่องแบบนี้เท่าไรนะlครับ ไม่ใช่ไม่สิ ไม่มีความรู้ในเรื่องแบบนี้มากกว่า = =

แต่ในเมื่อมีกระทู้แบบนี้ ก็ขอเอาอะไรมาแปะบ้าง เป็นคลิปเล็กๆเกี่ยวกับทหารประเทศนอร์เวย์น่ะครับ

ด้วยเหตุผลที่ว่าผมอยู่นอร์เวย์น่ะนะ 555

คลิป Hyllest til det norsk militær แปลตรงๆก็ Tribute to Norwegian Military นั้นแหละครับ

http://www.youtube.com/watch?v=QBRSZi1CWFM

อีกอันๆ

อนึ่งผมคงไม่อาจช่วยอะไรได้มากอ่ะนะ แค่เข้ามาแล้วดูเฉยๆก็น่าเบื่อ เลยขอมีส่วนร่วมนิดหน่อย

ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับภาษาเทือกๆนี้ (เดนนิช สวีดิช นอวีเจี้ยน) ลองถามมาได้ เผื่อผมจะแปลให้ได้ (แต่คิดว่าคงไม่มีปัญหา เพราะกูเกิ้ลทรานสเลดคงรู้ดีกว่าผม ฮ่าๆๆ)

;P

อีกอันๆๆ เกี่ยวกับทหารเรือมั้ง

Link to comment
Share on other sites

จะว่าไป เรือเหลี่ยมๆแบบนั้น ใช่เรือสเตลท์ รึเปล่าหว่า เห็นสวีเดนมีใช้นะ

-------------------------------------------------

Q0111802101104105302.jpg

ความคืบหน้า ทัพเรือ กับ ฮ.ลำเลียงและกู้ภัยแบบ MH-60 ประจำการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

๑.  ขอบเขตของสัญญา

ทร.อนุมัติให้จัดหา ฮ.MH-60S (Knight Hawk) จำนวน ๒ เครื่องพร้อมส่วนสนับสนุนและการฝึก โดยวิธี FMS จากสหรัฐอเมริกา  ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี ๕๐ - ๕๓ แบ่งการชำระเงินเป็น ๑๐ งวด  และจก.พธ.ทร. รับมอบอำนาจเป็นผู้แทน ผบ.ทร. ลงนามใน Letter of Offer and Acceptance (LOA) ของ FMS Case TH-P-SCN สำหรับการจัดหา ฮ. ดังกล่าว เมื่อ ๒๙ มี.ค.๕๐

๒. ความก้าวหน้าโครงการฯ (การดำเนินการที่ผ่านมา)

๒.๑ ทร. ได้ชำระเงินครบแล้ว ทั้ง ๑๐ งวด

๒.๒ ทร. ได้อนุมัติการฝึกอบรมหลักสูตรตามโครงการ ดังนี้

๒.๒.๑  หลักสูตร Oral Proficiency Skill for Aviation (OPSAV) ณ สหรัฐอเมริกา จำนวน ๓ นาย ระหว่าง ๑ ก.พ. ๓๐ พ.ค.๕๓ และต่อมาได้มีการอนุมัติขยายเวลาการศึกษาอบรมระหว่าง ๓๑ พ.ค. ๑๗ มิ.ย.๕๓ ทั้งนี้หลังจากศึกษาอบรมแล้วปรากฏว่ามีผู้สอบไม่ผ่านเกณฑ์ ๑ นาย

๒.๒.๒  หลักสูตร Specialized English Language Training (SET) และหลักสูตรนักบินเปลี่ยนแบบ (MH-60S CAT Pilot) จำนวน ๕ นาย ระหว่าง ๒๖ พ.ค. ๑๕ ต.ค.๕๓

๒.๒.๓  หลักสูตร Specialized English Language Training (SET) และหลักสูตรลูกเรือ (MH-60S CAT V Aircrew) จำนวน ๒ นาย ระหว่าง ๒๖ พ.ค. ๑๕ ต.ค.๕๓

๒.๓ คณะผู้แทน ทร. รวมทั้งสิ้นจำนวน ๖ นายเดินทางไปตรวจสอบ  ก่อนการส่งมอบ ณ โรงงานบริษัท LockheedMartin เมือง Owego มลรัฐ NewYork ในระหว่าง ๑๙ ๒๔ ก.ย.๕๓ โดยได้เข้าเยี่ยมชมบริษัทฯ ในระหว่าง ๒๑ ๒๘ ก.ย.๕๓ คณะผู้แทนทร. เดินทางไปยังบริษัท Lockheed Martin เมือง Owego มลรัฐ New York เพื่อเข้าฟังการบรรยายสรุปการดำเนินการของบริษัท และตรวจสอบการปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์ขั้นสุดท้าย ก่อนการส่งมอบและขนส่งมายังประเทศไทย

๓. การดำเนินการต่อไป

กำหนด ส่งมอบ ณ สหรัฐอเมริกา เครื่องที่ ๑ ในเดือน ต.ค.๕๓และเครื่องที่ ๒ ในเดือน พ.ย.๕๓ ซึ่งบริษัทตัวแทนการขนส่งของกองทัพไทย (Freight Forwarder) จะดำเนินการขนส่งมายังประเทศไทยต่อไป

Credit : เสี่ยโย TAF

Link to comment
Share on other sites

mirage3_1.jpg

Mirage III

มิราจ 3 ถูกออกแบบโดยบริษัท Dassault Aviation ให้รับบทบาท เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นขนาดเบา ของฝรั่งเศส โดยเครื่องมิราจ 3 นั้นสามารถทำความเร็วได้กว่า 2 มัค และถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากิกแบบหนึ่ง

mirage3_02.jpg

ข้อมูลของ Mirage IIIE

บทบาท : เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นไอพ่นขนาดเบา ที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : ฝรั่งเศส

ผู้ผลิต : Dassault Aviation

บินครั้งแรก : 17 พฤศจิกายน 1956

สถานะ : ยังใช้งานอยู่

ผู้ใช้งานหลัก : กองทัพอากาศฝรั่งเศส, กองทัพอากาศปากีสถาน

ผลิตทั้งหมด : 1,422 เครื่อง

การพัฒนา(รุ่นอื่นๆ) : Mirage IIIV, Mirage 5, Cheetah

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 15 เมตร

ความกว้างปีก : 8.22 เมตร

ความสูง : 4.5 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 7 ตัน

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 13.5 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์เบอร์โบเจ็ท SNECMA Atar 09C 1 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 2.2 มัค(2,350 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

พิสัยทำการ : 2,400 กิโลเมตร

อัตราไต่ระดับ : 83.3 เมตร/วินาที(16,400 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนใหญ่ DEFA 552 ขนาด 30 มม. 2 กระบอก กระสุน 125 นัดต่อกระบอก

จรวด : Matra JL-100, SNEB

ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ : AIM-9 Sidewinder, Matra R550 Magics, Matra R530, AM-39 Exocet

300pxmirage_iii5_risszeichnung.png

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

Mig17-WillWard-01.jpg

MIG-17 Fresco

มิก-17 เฟรซโก้ ถูกสร้างโดยบิรษัท Mikoyan-Gurevich ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาที่มีความคล่องตัวในการบินสูง ถูกสร้างโดยสหภาพโซเวียต มันไม่สามารถติดตั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศได้ แต่เขี้วเล็บสำคัญของมันก็คือปืนกลหนักที่ติดตัวมันมานั่นเอง

tb600_84.jpg

MIG-17 ก็เหมือนรุ่นพี่ของมันอย่าง MIG-15 ที่สร้างชื่อเสียงและประจักษ์ความน่ากลัวของมันไว้ในสงครามเกาหลี เมื่อการมาถึงของ MIG-17 ในสงครามเวียดนาม ก็ได้ทำให้นักบินสหรัฐต่างหวาดกลัวกับความคล่องแคล่วในการบินของมัน

Mig%2017.jpg

ข้อมูลของ MIG-17F Fresco

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ไอพ่นขนาดเบา ที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : รัสเซีย,สหภาพโซเวียต

ผู้ผลิต : Mikoyan-Gurevich

บินครั้งแรก : 14 มกราคม 1950

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใข้งานหลัก : กองทัพอากาศโซเวียต, กองทัพอากาศจีน, กองทัพอากาศโปแลนด์, กองทัพอากาศเวียดนาม

ผลิตทั้งหมด : 10,603 ลำ

การพัฒนา(รุ่นอื่นๆ) : Lim-6, J-5

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 11.4 เมตร

ความกว้างปีก : 9.6 เมตร

ความสูง : 3.8 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 4 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 5.3 ตัน

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 6.3 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ไอพ่น เทอร์โบเจ็ท Kilmov VK-1F 1 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 1,144 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ความสูง 1 หมื่นฟุต

พิสัยบินทำการ : 1,670 กิโลเมตร

อัตราไต่ระดับ : 65 เมตร/วินาที (12,795 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนใหญ่ Nudelman N-37 ขนาด 37 มม. 1 กระบอก กระสุน 40 นัด, ปืนใหญ่ Nudelman-Rikhter NR-23 ขนาด 23 มม. 2 กระบอก กระสุน 160 นัด

mig-17.gif

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

mig19pakistanyh4.jpg

MIG-19 Farmer

มิก-19 ฟาร์เมอร์ ถูกสร้างโดยบิรษัท Mikoyan-Gurevich ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาที่มีความคล่องตัวในการบินสูง โดยสหภาพโซเวียต มันพัฒนาต่อจาก MIG-17 ให้มีความน่าสะพรึงกลัวมากยิ่งขึ้น และสามารถรบได้ดีขึ้นในสงคราม

planesMig19.jpg

จุดที่แตกต่างกันระหว่าง MIG-17 และ MIG-19 ถือขนาดลำตัวที่ MIG-19 นั้นจะยาวกว่า และหางที่ยื่นออกมา 2 ข้างของ MIG-19 จะอยู่ต่ำกว่า โดยรวมแล้ว ทำให้เครื่องบินบินได้คล่องตัวมากขึ้น และน่าสะพรึงมากขึ้นหลายเท่าตัว

mig-19_1.jpg

ข้อมูลของ MIG-19S Farmer

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ไอพ่นขนาดเบา ที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : รัสเซีย,สหภาพโซเวียต

ผู้ผลิต : Mikoyan-Gurevich

บินครั้งแรก : 18 กันยายน 1953

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใข้งานหลัก : กองทัพอากาศโซเวียต, กองทัพอากาศจีน

ผลิตทั้งหมด : 2,172 ลำ

การพัฒนา(รุ่นอื่นๆ) : J-6, Q-5

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 12.5 เมตร

ความกว้างปีก : 9.2 เมตร

ความสูง : 3.9 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 5.5 ตัน

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 7.5 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ไอพ่น เทอร์โบเจ็ท Tumansky RD-9B หรือ RD-9BF-811

ความเร็วสูงสุด : 1 มัค(1,455 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

พิสัยบินทำการ : 2,200 กิโลเมตร

อัตราไต่ระดับ : 180 เมตร/วินาที (35,425 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนใหญ่ NR-30 ขนาด 30 มม. 3 กระบอก

ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ : AA-2 Atoll

612px-MiG-19_3-view_drawing.png

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

1134_6.gif

F-15 Eagle

เอฟ-15 อีเกิล ถูกสร้างโดยบริษัท Mcdonnell Douglas ให้รับบทบาท เครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศขนาดหนัก มันเป็นเครื่องบินรบที่โดดเด่นที่สุดแบบหนึ่งในโลกยุคปัจจุบัน

f15_15.jpg

F-15 ทำการรบอย่างโชกโชนในตะวันออกกลาง ทั้งจากสงครามอ่าว และ สงครามอัฟกัน รวมทั้ง สงครามพายุทะเลทราย พวกมันฝากผลงานที่ดีเยี่ยมเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ในชื่อที่ว่า สามารถยิงศัตรูตกได้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่เคยถูกยิงตกเลย

f15e_08.jpg

ข้อมูลของ F-15C Eagle

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศขนาดหนัก ที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา

ผู้ผลิต : Mcdonnell Douglas, Boeing IDS

บินครั้งแรก : 27 กรกฏาคม 1972

สถานะ : ประจำการ

ผู้ใช้งานหลัก : กองทัพอากาศสหรัฐ, กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น, กองทัพอากาศซาอุดิอาราเบีย, กองทัพอากาศอิสราเอล

สร้างทั้งหมด : 1,198 ลำ

การพัฒนา(รุ่นอื่นๆ) : F-15E Strike Eagle, F-15 STOL/MTD, F-15SE Silent Eagle

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 19.4 เมตร

ความกว้างปีก : 13 เมตร

ความสูง : 5.6 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 12.7 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 20.2 ตัน

น้ำหนักวิ่งข้นสูงสุด : 30.8 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ไอพ่น เทอร์โบแฟน Pratt & Whitney F100-100 หรือ F100-220

ความเร็วสูงสุด : 2.5 มัค+(2,660 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

เพดานบินสูงสุด : 65,000 ฟุต

อัตราไต่ระดับ : 254 เมตร/วินาที(5 หมื่นฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนวัลแค่น M61 ขนาด 20 มม. 1 กระบอก กระสุน 940 นัด

ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ : AIM-7 Sparrow, AIM-9 Sidewinder, AIM-120 AMRAAM

ด้วยรูปทรงของ F-15 และไอพ่นมันทรงพลังนั้น ทำให้มันคล้ายกับจรวด และทำให้เกิดเหตุการณ์ประหลาดแบบที่ ทัพฟ้าอิสราเอลค้นพบ เมื่อ F-15 ลำหนึ่งบินชนเข้ากับ A-4

ผลที่ได้คือ สูญเสีย A-4 ทั้งลำ แต่ F-15 นั้นสูญเสียปีกไข้งนึง แต่ยังสามารถประคองตัวบินต่อจนลงจอดที่ฐานบินอย่างปลอดภัยได้อย่างไม่น่าเชื่อจนแม้แต่ บิรษัทผู้ผลิตเองยังพูดออกมาว่า มันเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อเรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็ทำให้พวกเขาอึ้งกันไปเลย

f15e_schem_01.jpg

Credit : Wikipedia

-------------------------------------

เฮ้อ กว่าจะเสร็จ.. วันนี้ต้องดูก่อนนะครับว่าจะลงตอนที่ 4 ได้ไหม มีปัญหาเรื่องตานิดหน่อยเลยขอหยุดพักอยู่ที่บ้านน่ะครับ

Link to comment
Share on other sites

Dogfights 'Flying Tiger' 'พยัคฆ์คำรณ ฟลายอิ้ง ไทเกอร์'

-ฟลายอิ้ง ไทเกอร์ ฝูงบินอันกล้าหาญของนักบินอเมริกันในจีน ควบ 'P-40 Tomahawk' เข้าต่อกรกับเครื่องบินแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นที่น่าเกรงขาม อย่างห้าวหาญ เรื่องราวของพวกเขาเต็มไปด้วยการรบอันดุเดือดและความเป็นมาที่น่าสนใจ วันนี้ พวกเขาคืนชีพอีกครั้ง กับ ลายปากฉลามอันโด่งดังแห่งฟลายอิ้ง ไทเกอร์ ที่โผบินผ่านแผ่นดินใหญ่ เพื่อต่อกรกับลูกพระอาทิตย์ด้วยคอมพิวเตอร์อนิเมชั่นชั้นเยี่ยมอีกครั้งหนึ่ง!

http://www.youtube.com/watch?v=if1E42qCuQM

http://www.youtube.com/watch?v=Sog7XOkiAA4&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=HggSklyKvKY&feature=related

Credit : รายการ ปฏิบัติการสะท้านโลก 'Dogfights' ช่อง ThaiPBS ให้เสียงภาษาไทย และ ซับไทยแก่สารคดีอันมีคุณค่าแห่งโลกของคนชอบการรบในอดีตครับ

------------------------

เดี๋ยวมาอัพข้อมูลเครื่องบินให้พรุ่งนี้ครับ

Link to comment
Share on other sites

เข้ามาส่อง เก็บโครงสร้างเครื่องบิน + ข้อมูลปืน

ฮ่าๆๆๆๆ ขอบใจมาก

*เก็บเสร็จก็เลื้อยจากไป*

Link to comment
Share on other sites

Browning Auto-5

800px-RemingtonMd11.JPG

สำหรับปืนกระบอกนี้เรียกได้ว่ามันเป็นปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัตกระบอกแรกของโลกเลยก็ว่าได้

จำนวนกระสุนที่บรรจุได้รวม 5 นัด ขนาดกระสุนที่ใช้คือ 12,16 และ 20 เกจ(gauge)

มันถูกออกแบบและสร้างขึ้นในช่วงปี 1902 และได้ผลิตต่อมาเป็นเวลาเกือบ 100 ปี

A5 นั้น Browning ได้ออกแบบแล้วนำไปเสนอกองทัพสหรัฐ แต่ไม่ได้รับความสนใจเลยเอาแบบมาขายให้ FN

FN จึงให้เกียรติผู้ออกแบบโดยติดยี่ห้อ Browning ตลอดมา ตอนหลังกองทัพสหรัฐได้ซื้อแบบไปผลิตใช้ใน WW II ในการรบภาคพื้นแปซิฟิคกับญี่ปุ่น

ในปัจจุบันนี้มันเป็นปืนที่ประชาชนทั่วไปสามารถมีไว้ในครอบครองและใช้งานได้ตามกฏหมาย

Ithaca 37 (ใครดู HOTD น่าจะคุ้นๆชื่อนะ... =w=)

Ithaca37DSPSandMP.jpg

สำหรับกระบอกนี้เป็นลูกซองระบบ pump action (เวลายิงเสร็จต้องสาวกระโจมมือถอยหลังและเดินหน้าเพื่อคัดปลอกกระสุนออกและบรรจุกระสุนใหม่เข้ารังเพลิงเองทุกนัด)

โดยขนาดของกระสุนที่ใช้คือ 12,16,20 และ 28 เกจ(gauge)

ซึ่งรูปแบบการใช้งานของลูกซองประเภทนี้ไม่ค่อยยุ่งยากซับซ้อนสักเท่าไหร่จึงทำให้คนทั่วไปก็สามารถใช้ได้

มันถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1937 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในอดีตมันเคยเป็นปืนที่มีบทบาทในสงครามเวียดนาม

ในปัจจุบันได้มีการนำไปใช้งานในกรมตำรวจของ Los Angeles และประชาชนทั่วไปสามารถหามาไว้ในครอบครองได้

Mossberg Maverick 88 (โปรดสังเกตุชื่อรุ่น... หุๆๆ...)

Maverick_88_Pragl.jpg

มันเป็นปืนลูกซองรุ่นประหยัดของ Mossberg ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ

รูปแบบของปืนนี้เป็นปืนลูกซองระบบ pump action บรรจุกระสุนได้ 6 หรือ 8 นัด (แล้วแต่รุ่น)

ขนาดกระสุนที่ใช้คือ 12 Gauge 2 3/4 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว น้ำหนักตัวปืนประมาณ 2.7 กิโลฯ

วันนี้ลองลงข้อมูลปืนลูกซองมั่ง... (วันก่อนๆลงแต่ตระกูลไรเฟิลจนเบื่อละ...)

สำหรับปืนลูกซองที่ได้นำข้อมูลมาแปะไว้นั้น บางกระบอกผมยังหาข้อมูลอย่างละเอียดได้ไม่ครบ จึงอาจมีการเพิ่มเติมอีกในภายหลัง...

หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ...

Credits : Wiki

ปล.ในครั้งนี้ผมลองนั่งแปลเองหากมีอะไรผิดพลาดก็แย้งได้ครับ...

ปล.2สำหรับข้อมูลของบางกระบอผมอาจหามาลงเพิ่มเติมทีหลังครับ...

ปล.3กระบอกสุดท้ายผมภูมิใจนำเสนอท่าน จขกท. ครับ...  =w=

Link to comment
Share on other sites

โอ้ Ithaca 37 นี่ตัวโปรดตั้งแต่เห็นใน HOTD เลย หุๆ..

เอาล่ะ + คะแนนให้เน้อ (ถ้าคึกเดี๋ยวมาลงเครื่องบินให้ต่อ)

Link to comment
Share on other sites

file.php?id=1123120

Curtiss P-40 Warhawk

พี-40 วอร์ฮอร์ค ถูกออกแบบโดยบริษัท Curtiss-Wright อันเป็นเครื่องบินขับไล่และโจมตีภาคพื้นดิน ใบพัดที่นั่งเดี่ยว P-40 ถูกพัฒนาต่อจาก เครื่องบินขับไล่ใบพัดแบบ P-36 Hawk ให้ดีขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว โดยเครื่องบินที่ใช้

Curtiss_P-40.jpg

โดยนาวิกโยธินสหรัฐจะเรียกชื่อของมันว่า Warhawk ส่วนในอังกฤษและโซเวียตจะเรียกมันว่า Tomahawk และในรุ่น P-40D มันถูกตั้งชื่อใหม่ว่า Kittyhawk

เครื่อง P-40 โด่งดังอย่างมากในการถูกใช้งานในจีน โดยนาวิกโยธินสหรัฐในชื่อ Flying Tiger และลายปากฉลามอันโด่งดังก็สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

Curtiss-P40-E.jpg

ข้อมูลของ P-40E Kittyhawk

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ใบพัดที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา

ผู้ผลิต : Curtiss-Wright Corporation

ผู้ออกแบบ : โดโนแวน เบอร์ลิน

บินครั้งแรก : 14 ตุลาคม 1938

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกสหรัฐ, กองทัพอากาศอังกฤษ, กองทัพอากาศออสเตรเลีย, กองทัพอากาศแคนาดา และ อื่นๆ

ผลิตทั้งหมด : 13,738 ลำ ตั้งแต่ปี 1939-1944

พัฒนาจาก : Curtiss P-36 Hawk

การพัฒนาต่อ : Curtiss XP-46

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 9.66 เมตร

ความกว้างปีก : 11.38 เมตร

ความสูง : 3.76 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 2.9 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 3.8 ตัน

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 4 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Aliison V-1710-39

ความเร็วสูงสุด : 580 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พิสัยบินทำการ : 1,100 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 29,000 ฟุต(8,800 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 11 เมตร/วินาที(2,100 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล M2 Browning ขนาด 12.7 มม.(.50) 6 กระบอก กระสุน 900-1,200 นัด

บอมท์ : ระเบิด 250 ถึง 1,000 ปอนด์ บรรทุกได้ 2,000 ปอนด์ ใต้ปีก

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

nakajima-ki-27-nate-fighter-bomber-02.jpg

Nakajima Ki-27 Otsu

นากาจิม่า เคไอ-27 โอ๊ท หรือ คิวนานะ-ชิกิ เซ็นโตกิ 'Type 97 Fighter' ถูกผลิตโดยบริษัท Nakajima ให้เป็นเครื่องบินขับไล่ใบพัดใช้งานโดยกองบินทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่น มันถูกเรียกจากสัมพันธมิตรในชื่อ 'Nate'

ki27b.jpg

Ki-27 เคยประจำการในไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงที่นายพลฮิเดกิ โตโจ ได้มาเยี่ยมชมวัดพระแก้ว จึงลั่นวาจาว่าจะมอบเครื่องบินขับไล่ให้กองทัพอากาศไทยใช้ป้องกันน่านฟ้าจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตรมา มิให้ทำลายวัดอันสวยงามแห่งนี้ลง

62650910zq2.jpg

ข้อมูลของ Ki-27b Otsu

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ใบพัดที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : ญี่ปุ่น

ผู้ผลิต : Nakajima Aircraft Company

บินครั้งแรก : 15 ตุลาคม 1936

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกญี่ปุ่น, กองทัพอากาศไทย

ผลิตทั้งหมด : 3,368 ลำ

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 7.53 เมตร

ความกว้างปีก : 11.31 เมตร

ความสูง : 3.3 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 1.1 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 3.5 ตัน

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 3.9 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูบสูบใบพัด Nakajima Ha-1 1 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 470 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พิสัยบินทำการ : 627 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 32,940 ฟุต (12,250 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 15.3 เมตร/วินาที (3,010 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Type 89 ขนาด 7.7 มม. 2 กระบอก

บอมท์ : ระเบิด 100 กิโลกรัม

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

ki43-1a.jpg

Nakajima Ki-43 Hayabusa

นากาจิม่า เคไอ-43 ฮายาบูซะ หรือ 'Army Type 1 Fighter' ถูกผลิตโดยบริษัทนากาจิม่า และถูกใช้งานโดยกองบินทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สัมพันธมิตรเรียกมันว่า 'Oscar' แต่บ่อยครั้งมันก็ถูกเรียกว่า 'Army Zero' หรือก็คือ Zero แห่งกองทัพบก ที่เปรียบว่ามันร้ายกาจราวกับเครื่องบินรบในตำนานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Mitsubishi A6M Zero

ki43-b.jpg

เหมือนกับซีโร่ Ki-43 เป็นเครื่องบินที่มีเกราะบาง ทำให้ตัวเครื่องนั้นเบา สามารถบินได้คล่องแคล่วและง่ายในการแปรขบวนในการรบอย่างมาก ด้วยความสามารถทางการบินอันน่าตกใจนั้น ทำให้ มันเป็นที่เกรงกลัวในหมู่นักบินอเมิรกันที่เน้นเครื่องบินเกราะหนา ที่สู้กับความคล่องตัวของเครื่องบินญี่ปุ่นไม่ได้

1181922578.jpg

ข้อมูลของ Ki-43-IIB Hayabusa

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ใบพัดขนาดเบา ที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : ญี่ปุ่น

ผู้ผลิต : Nakajima Aircraft Company

ผู้ออกแบบ : ฮิเดโอะ อิโตคาวะ

บินครั้งแรก : มกราคม 1939

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกญี่ปุ่น,กองทัพอากาศไทย

ผลิตทั้งหมด : 5,919 ลำ ตั้งแต่ปี 1942-1945

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 8.9 เมตร

ความกว้างปีก : 10.8 เมตร

ความสูง : 3.3 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 1.9 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 2.6 ตัน

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 3 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Nakajima Ha-115 1 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 530 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พิสัยบินทำการ : 1,760 กิโลเมตร

เพดานบิน : 36,750 ฟุต (11,200 เมตร)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Ho-103 ขนาด 12.7 มม.(.50) 2 กระบอก

บอมท์ : ระเบิด 250 กิโลกรัม 2 ลูก

Ki-43 ของไทยเคยทำวีรกรรมในการบินขึ้นสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตรแบบ B-29 Super Fortress และสามารถยิงเครื่องบินทิ้งระเบิดเกราะหนาของสัมพันธมิตรตกได้ 1 ลำ

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

ki21i.jpg

Mitsubishi Ki-21 Nagoya

มิทซูบิชิ เคไอ-21 นาโกย่า ถูกผลิตโดย Mitsubishi และใช้งานโดยกองบินทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 สัมพันธมิตรเรียกมันว่า 'Sally' หรือ 'Gwen' มันเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางที่เชื่องช้า

ki21bt.jpg

ข้อมูลของ Ki-21-IIB Nagoya

บทบาท : เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง

สัญชาติ : ญี่ปุ่น

ผู้ผลิต : Mitsubishi Aircraft Company

บินครั้งแรก : 18 ธันวาคม 1936

ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกญี่ปุ่น, กองทัพอากาศไทย

ผลิตทั้งหมด : 2,064 ลำ(รวม Ki-57)

การพัฒนาต่อ : Mitsubishi Ki-57

นักบิน : 5-7 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 16 เมตร

ความกว้างปีก : 22.5 เมตร

ความสูง : 4.8 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 6 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 10 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Mitsubishi Ha-101 2 เครื่องยนต์

ความเร็ซสูงสุด : 485 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พิสัยบินทำการ : 2,700 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 32,800 ฟุต (10,000 เมตร)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Type 89 ขนาด 7.7 มม. 4 กระบอก, ปืนกลหนัก Type 1 -okf 12.7 มม. 1 กระบอก

บอมท์ : ระเบิดหนัก 1 ตัน

69-01.jpg

ภาพวาด Ki-21 ตัวไทย(สังเกตุสีธงชาติที่แพนหาง)

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

Please sign in to comment

You will be able to leave a comment after signing in



Sign In Now
  • Recently Browsing   0 members

    • No registered users viewing this page.

×
×
  • Create New...

Important Information

By using this site, you agree to our Terms of Use and Privacy Policy. We have placed cookies on your device to help make this website better. You can adjust your cookie settings, otherwise we'll assume you're okay to continue.