Jump to content
We are currently closing new member registration for the time being. We apologize for the inconvenience. ×

พูดคุย,แลกเปลี่ยน,รวบรวม ข้อมูลกองทัพต่างๆทั่วโลก *เปิดทำการ*


Retia Adolf

Recommended Posts

เมาวันนี้ไม่ขออัพเดท ไฮเนเก้นขวดเดียวเอง คออ่อนลงเยอะเลย - -

วันหลังใครจะกินมาบ้านผมสิอิอิแชร์กัน

Link to comment
Share on other sites

  • Replies 171
  • Created
  • Last Reply

Top Posters In This Topic

  • Retia Adolf

    93

  • bikemaster

    26

  • System W

    18

  • sling-shot

    18

บังอาจแย่งเรปที่ 100 ตูเอ็งตาย! /ส่งเครื่องบินไปดำบอมท์

Link to comment
Share on other sites

บังอาจแย่งเรปที่ 100 ตูเอ็งตาย! /ส่งเครื่องบินไปดำบอมท์

=[]= ทะเลาะกันซะแล้ว...../me วิ่งไปเอาไนโตรกลีเซอรีนมาให้

Link to comment
Share on other sites

เล่นๆกันน่ะ จะได้ไม่เครียด 5555+

--------------------------------

F6F_warbirds_tw.jpg

Grumman F6F Hellcat

กรัมแมน เอฟ6เอฟ เฮลแค็ท คือ เครื่องบินขับไล่ขึ้น-ลงจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ถูกใช้งานโดยกองทัพเรือสหรัฐ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเข้ามาแทนที่ F4F Wildcat รุ่นต้นแบบ

hellcat.jpg

F6F มีขุมพลังที่ทรงพลังยิ่งกว่า F4F รุ่นเก่าด้วยเครื่องยนต์แบบ Pratt & Whitney R-2800 ที่ให้แรงขับสูงขึ้น ทำให้มันสามารถต่อกรกับซีโร่ได้ดียิ่งขึ้นด้วยความเร็วมากยิ่งขึ้น และความสมบุกสมบันของมัน

RiversideZeroF6f.jpg

ข้อมูลของ F6F-5 Hellcat

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ใบพัดขึ้น-ลงจากเรือบรรทุกเครื่องบิน หนึ่งที่นั่ง

สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา

ผู้ผลิต : Grumman Aircraft

บินครั้งแรก : 26 มิถุนายน 1942

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใช้งานหลัก : กองทัพเรือสหรัฐ, นาวิกโยธินสหรัฐ, กองทัพเรืออังกฤษ, กองทัพเรือฝรั่งเศส

ผลิตทั้งหมด : 12,275 ลำ ตั้งแต่ปี 1942-1945

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 10.24 เมตร

ความกว้างปีก : 13.06 เมตร

ความสูง : 3.99 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 4.2 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 5.7 ตัน

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 6.9 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Pratt & Whitney R-2800 -10w เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 610  กิโลเมตร/ชั่วโมง

พิสัยบินทำการ : 2,460 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 37,300 ฟุต (11,370 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 17.8 เมตร/วินาที (3,500 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล M2 Browning ขนาด 12.7 มม.(.50 นิ้ว) 6 กระบอก , ปืนใหญ่ 20 มม. 2 กระบอก

จรวด : จรวด HVARs ขนาด 127 มม. 6 ลูก หรือ จรวด Tiny Tim ขนาด 298 มม. 2 ลูก

บอมท์ : ระเบิดหนัก 907 กิโลกรัม 1 ลูก หรือ Mk.13-3 ตอร์ปิโด 1 ลูก, ระเบิดหนัก 450 กิโลกรัม 2 ลูก หรือ ระเบิดหนัก 227 กิโลกรัม 4 ลูก, ระเบิดหนัก 110 กิโลกรัม 8 ลูก

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

มาตามสัญญาครับ

-------------------------------

DSC05142_exposure_resize.jpg

EH-101 Merlin and F/A-18C Hornet

เนื่องจากเมื่อวันเสาร์ได้ไปดูหนังกับสุดที่รัก Friday จึงได้ถือโอกาสสอยโมเครื่องบินมาเข้าประจำการอีก 2 กล่อง ไปชมรีวิวกันเลยครับ

DSC05143_exposure_resize.jpg

เริ่มต้นด้วย F/A-18C ของ J-Wings ชุด 4+ Alpha ซึ่งตัวนี้เป็นของฝูง 'Mightyshrike 2010 (Low Visibility)' ได้มาในราคาปกติครับ 380(ลดจากราคาป้าย 425)

DSC05144_exposure_resize.jpg

รวมพล F/A-18 ที่มีอยู่ทั้งหมด จะสังเกตุเห็นว่า 2 ตัวทางด้านซ้ายนั้นจะมีจรวดสีขาว 'ไซด์ไวน์เดอร์ติดอยู่ แล้วตัวขวาหายไปไหนล่ะ.. คำตอบคือนี่ครับ

DSC05146_exposure_resize.jpg

ผมเอาไปติดกับ F-4EJ ของ Doyusha ครับผม พี่ท่านเล่นไม่ให้อาวุธมาเลย เลยต้องหาอะไรมาเพิ่มราศีสักหน่อย...

DSC05148_exposure_resize.jpg

เมื่อดูใต้ท้องนั้นจะเห็นว่าอาวุธที่ให้มาทั้งหมดมีจำนวนมากจนต้องเลือกติดกันเลยทีเดียว สำหรับคนที่สงสัยว่า อ้าวแล้วใต้ท้องตัวขวามันอะไรเยอะแยะนั่น ก็ขอบอกเลยครับว่าคือขีปนาวุธพิสัยไกลแบบ แอมแรม 8 ลูก ทำไมถึงติดเยอะ? เพราะผมใช้ต้นแบบจากตัวนี้ครับ

amraam2.jpg

แตกต่างเพียงอย่างเดียวคือผมเอาไซด์ไวน์เดอร์ไปติด F-4EJ แทนคระบ หุๆ

DSC05150_exposure_resize.jpg

มาถึง EH-101 Merlin ของ F-toys กันมั่ง ชุดนี้คือชุด Heliborne 4 พึ่งออกใหม่ครับเลยสอยมาสักหน่อยหุๆ สีขาวสวยมากทีเดียว

DSC05153_exposure_resize.jpg

ลองถ่ายตอนใช้นิ้วปั่นใบพัดเล่นครับ หุๆ เหมือนจริงไหมนี่ ฮ่ะๆๆ

DSC05154_exposure_resize.jpg

F-Toys คงเส้นคงวาจริงๆ ล้อหลังให้มาไม่ครบอีกแล้ว....(ตัวก่อนก็ล้อหักมาตั้งแต่ในกล่อง... สมราคาจริงๆ)

DSC05155_exposure_resize.jpg

เมอร์ลินลำใหญ่ทีเดียว ใหญ่กว่า F-4EJ เสียอีก

DSC05157_exposure_resize.jpg

ปิดงานด้วยรวมพลเครื่องบินที่มีที่บ้านทั้งหมดครับ 555+

Link to comment
Share on other sites

รูปมีถ่ายเบลอหน่อยๆ แต่ก็ไม่ได้ว่ากัน ครั้งนี้ให้ผ่านฉลุย

แต่ก็ชอบพวกโมเดลน่ารักๆแบบนี้อยู่ดี ต่อคราวหน้าระวังเรื่องกาวหน่อยล่ะ

/กลิ้งหนี

Link to comment
Share on other sites

รายละเอียดโมเดลทำมาโอเคดีอ่ะ...  *-*

รู้สึกเหมือนนี่จะเป็น ฮ. ลำแรกในกองบินของท่านเลยนะเนี่ย... =w="

ปล.ภาพสุดท้ายของที่วางอยู่รอบๆกองบินมันดูรกๆพิกลๆนะ... =_="

/พรางตัวแล้วเลื้อยหนี...

Link to comment
Share on other sites

รายละเอียดโมเดลทำมาโอเคดีอ่ะ...  *-*

รู้สึกเหมือนนี่จะเป็น ฮ. ลำแรกในกองบินของท่านเลยนะเนี่ย... =w="

ปล.ภาพสุดท้ายของที่วางอยู่รอบๆกองบินมันดูรกๆพิกลๆนะ... =_="

/พรางตัวแล้วเลื้อยหนี...

รกจริงๆนั่นแหละ 5555+

Link to comment
Share on other sites

Dogfights 'The Frist Dogfights' 'วิวัฒนาการวิหคเหล็กกล้า'

-นานมาแล้วในสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นครั้งแรกที่อากาศยานถูกใช้ในการรบ ภารกิจหลักคือการสอดแนม ไม่นานนัก นักบินเริ่มแบกปืนขึ้นไปบนฟ้า และยิงกันเอง... จุดเริ่มต้นแห่งยุทธเวหาแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อคนและอากาศยานปีกสองชั้นพัวพันกันกลางอากาศ จากใบพัดสู่ไอพ่น จากปืนกลสู่จรวดมิสไซล์ ร่วมสัมผัสวิวัฒนาการล้ำสมัยภายใน 100 ปี ที่วหิคเหล็กกล้าวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด!

http://www.youtube.com/watch?v=A_eHDgpzEm4

http://www.youtube.com/watch?v=XtygRoFAP1M&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=5WfNSFNwyVI&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=vfwzumlZ-fU&feature=related

Credit : รายการ ปฏิบัติการสะท้านโลก 'Dogfights' ช่อง ThaiPBS ให้เสียงภาษาไทย และ ซับไทยแก่สารคดีอันมีคุณค่าแห่งโลกของคนชอบการรบในอดีตครับ

--------------------------------

ถือว่าเป็นอีกตอนหนึ่งที่น่าสนใจครับสำหรับการย้อนเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นการฉลองล่วงหน้าก่อนเดือน มีนาคม ปี 2554 ที่จะถึงนี้นับว่าเป็น 'วันครอบรอบ 100 ปี การบินโลก' จึงขอมอบวีดีโอชุดนี้ไว้เป็นการเฉลิมฉลองแก่เหล่านักรบทางอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งอากาศยานทุกรูปแบบที่ถูกผลิตออกมาในเวลาเพียง 100 ปี ที่ทำให้ตระหนักว่า เทคโนโลยีนั้นก้าวกระโดดได้เร็วเกินกว่าที่เราจะเข้าใจ

สำหรับเครื่องบินที่ปรากฏในตอนนี้นั้นเยอะทีเดียวทั้ง Spad 13, Fokker D-7, P-51 Mustang, Me 109 แต่จะเขียนให้หลังจากผมลงเรื่อง F/A-18 และ EH-101 ที่ค้างไว้ให้ครับ

Link to comment
Share on other sites

Dogfights 'The Frist Dogfights 2' 'วิวัฒนาการวิหคเหล็กกล้า 2'

-มาลงต่อให้จบครับ

http://www.youtube.com/watch?v=W6MIrBxwdTE&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=A_yPkX4tFFc&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=nZCynlx1hzo&feature=related

Credit : รายการ ปฏิบัติการสะท้านโลก 'Dogfights' ช่อง ThaiPBS ให้เสียงภาษาไทย และ ซับไทยแก่สารคดีอันมีคุณค่าแห่งโลกของคนชอบการรบในอดีตครับ

Link to comment
Share on other sites

f18_03.jpg

Mcdonnell Douglas F/A-18 Hornet

แม็คดอนเนล ดักลาส เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท คือเครื่องบินขับไล่และโจมตีหลากบทบาททุกกาลอากาศความเร็วเหนือเสียง

ที่สามารถขึ้นลงจากเรือบรรทุกเครื่องบินได้ มันถูกสร้างขึ้นจากต้นแบบ YF-17 ของบริษัท Northrop ในปี 1970 สำหรับกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐฯ

AIR_F-18C_Hornet_lg.jpg

ฮอร์เน็ทยังถูกใช้งานในกองทัพอากาศอื่นๆในอีกหลายประเทศ ด้วยความอเนกประสงค์ของมัน ทำให้มันพิสูจน์ตัวเองแล้วว่า เป็นเครื่องขับไล่ที่ดีที่สุดอีกแบบหนึ่งในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีข้อเสียบางข้อที่ด้อยกว่าเครื่องบินขับไล่บางชนิดในยุคเดียวกันก็ตาม

fa18_06_375X300.jpg

ข้อมูลของ F/A-18 Hornet

บทบาท : เครื่องบินขับไล่หลากบทบาทไอพ่นความเร็วเหนือเสียง

สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา

ผู้ผลิต : Mcdonnell Douglas (Boeing), Northrop

บินครั้งแรก : 18 พฤศจิกายน 1978

สถานะ : ยังประจำการอยู่

ผู้ใช้งานหลัก : กองทัพเรือสหรัฐ, นาวิกโยธินสหรัฐ, กองทัพอากาศออสเตรเลีย, กองทัพอากาศสเปน

ผลิตทั้งหมด : 1,480 ลำ

พัฒนาจาก : Northrop YF-17

รุ่นอื่นๆ : CF-18 Hornet, F-18 HARV, X-53 AAW

รุ่นพัฒนาต่อ : F/A-18E/F Super Hornet

นักบิน : 1 นาย(รุ่น A/C), 2 นาย (รุ่น B/D)

ความยาวตัวเครื่อง : 17.1 เมตร

ความกว้างปีก : 12.3 เมตร

ความสูง : 4.7 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 10.4 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 16.7 ตัน

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 23.5 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟน General Electric F404-GE-402 2 เครื่องยนต์ ให้แรงขับสูงสุด 17,750 ปอนด์

ความเร็วสูงสุด : 1.8 มัค (1,915 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ที่ความสูง 40,000 ฟุต(12,190 เมตร)

พิสัยบินทำการ : 2,000 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 50,000 ฟุต (15,240 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 254 เมตร/วินาที (50,000 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล M61 Vulcan ขนาด 20 มม. 1 กระบอก กระสุน 578 นัด

จรวด : จรวด Hydra ขนาด 70 มม. 70 ลูก, จรวด Zuni ขนาด 127 มม.

ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ : AIM-9 Sidewinder, AIM-132 ASRAAM, IRIS-T, AIM-120 AMRAAM, AIM-7 Sparrow

ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น : AGM-65 Maverick, SLAM-ER, ARM, JSOW, Taurus, AGM-84 Harpoon

บอมท์ : JDAM, Paveway, Mk.80, CBU-87 Cluster, CBU-89 Gator Mind, CBU-97, Mk 20 Rockeye II, ระเบิดนิวเคลียร์ B61/Mk 57

f18_schem_01.gif

Credit : Wikipedia

-------------------------

eh_101.jpg

Agusta/Westland AW101

อากุสต้า/เวสท์แลนด์ เอดับบลิว101 (EH101 ใช้จนถึงมกราคม 2007) เป็นเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ขนาดกลางที่ใช้งานอย่างแพร่หลายทั้งในกองทัพและพลเรือน AW101 ถูกสร้างโดยการรวมบริษัทระหว่าง Westland Helicoptor ของสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) และ Agusta ของอิตาลี่ ชื่อ Merlin ถูกใช้สำหรับ AW101 ในกองทัพอังกฤษ, เดนมาร์ก และ โปตุเกส

eh101_rn1.jpg

ข้อมูลของ Merlin HM1

บทบาท : เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ ขนาดกลาง

สัญชาติ : อังกฤษ/อิตาลี่

ผู้ผลิต : Agusta/Westland

บินครั้งแรก : 9 ตุลาคม 1987

สถานะ : ยังประจำการอยู่

ผู้ใช้งานหลัก : กองทัพเรืออังกฤษ, กองทัพอากาศอังกฤษ, กองทัพเรืออาตาลี่, กองทัพอากาศโปรตุเกส

รุ่นอื่นๆ : CH-149 Comorant, VH-71 Kestrel

นักบิน : 4 นาย และ กำลังพลนั่ง 24 นาย หรือ กำลังพลยืน 45 นาย หรือ เตียงพยาบาล 16 เตียง

ความยาวตัวเครื่อง : 22.81 เมตร

ความกว้างใบพัด : 18.59 เมตร

ความสูง : 6.65 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 10.5 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 5.4 ตัน

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 15.6 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ใบพัดแก๊สเทอร์ไบน์ เทอร์โบชาร์ฟ Rolls-Royce Turbomeca RTM322-01 3 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 309  กิโลเมตร/ชั่วโมง

พิสัยบินทำการ : 1,389 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 15,000 ฟุต (4,575 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 10.2 เมตร/วินาที (2,000 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล 5 กระบอก

บอมท์ : จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ หนัก 960 กิโล 2 ลูก, ตอร์ปิโด 4 ลูก, ระเบิดน้ำลึก, จรวด

plano_eh101%5B1%5D.gif

Credit : Wikipedia

-----------------------------

ถ้าเป็นไปได้ ภายในอาทิตย์หน้า ผมจะได้รับ Su-27 ตัว ทอ.จีน สเกล 1/144 จากท่านเจ้าบานเว็บ 144 Squa ยังไงก็ ถ้าได้มาแล้วจะถ่ายรีวิวให้ชมครับ!

Link to comment
Share on other sites

ครม.อนุมัติจัดหาเครื่องบินขับไล่ กริพเพน ระยะที่ 2

gripennewrtaf1.jpg

วันนี้ คณะรัีฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กองทัพอากาศลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18 ก/ข (F-5B/E) ระยะที่ 2 จำนวน 6 ลำ พร้อมกับรับข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดนซึ่งประกอบไปด้วย

-เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบ Saab 340 AEW จำนวน 1 ลำ

-อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ RBS-15F จำนวน 12 นัด

-ทุนการศึกษาจำนวน 24 ทุน

-การถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 24 man years

-การร่วมมือทวิภาคีด้านอุตสาหกรรม (Industrial Cooperation)

ซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับนั้นเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เพิ่มเติมมาจากเทคโนโลยีที่ได้รับจากการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen ในระยะที่ 1 และรวมถึงกองทัพอากาศ พร้อมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กำลังเริ่มเจรจากับผู้แทนของรัฐบาลสวีเดนในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการตอบแทนทางอุตสาหกรรมและการร่วมมือแบบทวิภาคี (Industrial Cooperation) ของรัฐบาลและหน่วยงานภาคเอกชนจากทั้งสองประเทศ เช่นการดึงบริษัทเอกชนของสวีเดนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย การจัดตั้งกิจการร่วมค้าหรือบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทของไทยและสวีเดน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการไทย ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ของไทย

ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถดึงเม็ดเงินลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) จากสวีเดน รวมถึงเปิดโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการไทยในหลายสาขาที่จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและตลาดใหม่ ซึ่งคาดว่ารายละเอียดจะมีการแผยแพร่ต่อไป

ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศจะเป็นตัวแทนของรัฐบาลไทยในการลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen ในเร็ว ๆ นี้

หลายเหตุ: Man Year คือหน่วยการนับระยะเวลาการเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย 1 man year จะเท่ากับคน 1 คนหรือ 1 คณะเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งจะเท่ากับคน 2 คนหรือ 2 คณะข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเป็นเวลาครึ่งปี หรือคน 4 คนหรือ 4 คณะเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเป็นเวลา 3 เดือน เป็นต้น

ครม.อนุมัติก่อหนี้ผูกพัน 5 ปี จัดหาเครื่องบินขับไล่ 6 ลำ 1.62 หมื่นลบ.

นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอในการขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18 ก/ข (ระยะที่ 2)

โดยอนุมัติให้กองทัพอากาศก่อ หนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18 ก/ข (ระยะที่ 2) วงเงิน 16,222 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 54 - 58 โดยการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ Gripen 39 C จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ การส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม และการบริหารโครงการ จากองค์กรจัดหายุทธภัณฑ์ทางทหารสวีเดน (F?RSVERETS MASTERIEL VERK : FMV) โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล รวมทั้งการปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการเพื่อเตรียมรับเครื่องบินของกองทัพอากาศ

พร้อมกันนี้ ให้กองทัพอากาศรับ ข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดนประกอบด้วย 1.เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ (SAAB 340 AEW) ติดตั้งอุปกรณ์เรดาร์แบบ ERIEYE จำนวน 1 เครื่อง 2.ระบบอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ (RB15F) จำนวน 12 นัด พร้อม TROLLEYS 3.ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท 24 ทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี 24 MAN-YEARS และความร่วมมือทวิภาคีด้านอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ให้ผู้บัญชาการทหารอากาศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อเครื่อง บินขับไล่อเนกประสงค์แบบ Gripen 39 C ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย รวมทั้งการลงนามในเอกสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงจัดซื้อที่อาจเกิดขึ้นในภาย หลัง เฉพาะในกรณีแก้ไขรายละเอียดที่มิใช่สาระสำคัญ โดยวงเงินรวมไม่เปลี่ยนแปลง

Credit : TAF

Link to comment
Share on other sites

scott_enochs-spad13-002.jpg

SPAD S.XIII

สแป็ด เอส.13 เป็นเครื่องบินขับไล่ปีกสองชั้น ของฝรั่งเศสในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 มันถูกสร้างโดย SPAD มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุดในช่วงนั้น ด้วยจำนวนการผลิตกว่า 8,000 ลำ และการรบอันโชคโชน ทำให้มันขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องบินในตำนานอีกประเภทหนึ่ง

eduard8196reviewrb_3.jpg

ข้อมูลของ SPAD S.XIII

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ปีกสองชั้นเครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด แบบที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : ฝรั่งเศส

ผู้ผลิต : SPAD

บินครั้งแรก : 4 เมษายน 1917

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกอังกฤษ, กองบินทหารบกสหรัฐ

ผลิตทั้งหมด : 8,472 ลำ

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 6.25 เมตร

ความกว้างปีก : 8.25 เมตร

ความสูง : 2.6 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 566 กิโลกรัม

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 856 กิโลกรัม

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 845 กิโลกรัม

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Hispano-Suiza 8Be 1 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 218 กิโลเมตร/ชั่วโมง

เพดานบินสูงสุด : 21,815 ฟุต (6,650 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 2 เมตร/วินาที (384 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล Vickers ขนาด 7.7 มม. 2 กระบอก

Credit : Wikipedia

----------------------------------------

fokker.jpg

Fokker D.VII

ฟ็อกเกอร์ ดี.7 เป็นเครื่องบินขับไล่ของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มันถูกออกแบบโดยบริษัท Fokker-Flugzeugwerke เยอรมันผลิตพวกมันออกมากว่า 3,300 ลำ และเป็นหัวหอกสำคัญในกำลังทางอากาศของเยอรมันในช่วงสงคราม

fokker_d-7.jpg

ข้อมูลของ Fokker D.VII

บทบาท : เครื่องบินขับไล่ปีกสองชั้นเครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด แบบที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : เยอรมัน

ผู้ผลิต : Fokker-Flugzeugwerke

บินครั้งแรก : มกราคม 1918

สถานะ : ปลดประจำการ

ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกเยอรมัน

ผลิตทั้งหมด : 3,300 ลำ

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 6.93 เมตร

ความกว้างปีก : 8.93 เมตร

ความสูง : 2.8 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 698 กิโลกรัม

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 850 กิโลกรัม

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 878 กิโลกรัม

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Mercedes D.IIIa หรือ BMW 1 เครื่องยนต์

เพดานบินสูงสุด : 19,600 ฟุต (5,970 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 240 เมตร/นาที (787 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล LMG 08/15 "Spandau" ขนาด 7.92 มม.

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

อ๊ะ... เครื่องบินใบพัด...

เมื่อสมัยเด็กๆเห็นรูปแล้วชอบนะแต่ตอนนี้ชอบพวก MIG มากกว่า...  :pika01:

Link to comment
Share on other sites

ท่าทางว่าหนังสือทำนายดวงจะตรงแฮะๆ... 'การใช้จ่ายค่อนข้างน่าหวาดเสียว รับมา จ่ายไป'

จริงวุ้ย พึ่งสั่งเจ้า 2 ตัวนี้ไป Su-27(J-11) ตัว ทอ.จีน 560 บาท กับ MIG-15bis ตัว ทอ.สหรัฐ ราคา 200 บาท

5-20101112085817.jpg

7-20101118080940.jpg

ไหนจะ EA-6B กับ Kv-107 และ F8F Bearcat ที่เล็งไว้อีก น่าหวาดเสียวจริงๆ  :pika11:

ของมาถึงมือเมื่อไหร่จะจับถ่ายรีวิวให้ดูครับ  :pika10:

Link to comment
Share on other sites

กัชรีเควสเครื่องBF-109เลย กะ เครื่องB-52จ้า พี่ไปลำปางหลายวัน

Link to comment
Share on other sites

p51_infl_fields.jpg

North American P-51 Mustang

นอร์ธ อเมริกัน พี-51 มัสแตงค์ เป็นเครื่องบินขับไล่พิสัยไกลแบบที่นั่งเดี่ยว ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้เวลาออกแบบและผลิตภายใน 117 วัน การบินครั้งแรกของมัสแตงค์กระทำโดย กองทัพอากาศอังกฤษ โดยทำหน้าที่ เครื่องบินคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด ในปฏิบัติการทิ้งระเบิดเยอรมันระหว่างสงคราม

1_original.jpg

ข้อมูลของ P-51D Mustang

บทบาท : เครื่องบินขับไล่พิสัยไกลเครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด ที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา

ผู้ผลิต : North American Aviation

บินครั้งแรก : 26 ตุลาคม 1940

สถานะ : ปลดประจำการแล้ว, ยังถูกใช้โดยพลเรือน

ผู้ใช้งานหลัก : กองบินทหารบกสหรัฐ, กองทัพอากาศอังกฤษ

ผลิตทั้งหมด : 16,766 ลำ

รุ่นอื่นๆ : North American A-36, North American Mustang Mk.X, Cavalier Mustang

รุ่นพัฒนาต่อ : F-82 Twin Mustang, Piper PA-48 Enforcer

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 9.83 เมตร

ความกว้างปีก : 11.28 เมตร

ความสูง : 4.08 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 3.5 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 4.2 ตัน

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 5.5 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Packard V-1650-7 1 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 703 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ 25,000 ฟุต(7,600 เมตร)

พิสัยบินทำการ : 2,755 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 41,900 ฟุต (12,800 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 16.3 เมตร/วินาที (3,200 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล M2 Browning ขนาด .50 นิ้ว(12.7 มม.) 6 กระบอก กระสุน 1,880 นัด

บอมท์ : ระเบิดหนัก 907 กิโลกรัม

348px-North_American_P-51D_EG-0068-01.svg.png

Credit : Wikipedia

-------------------------

me109_01.jpg

Messerschmitt Bf 109

เมสเซอร์สมิธ บีเอฟ 109 หรือ เอ็มอี 109 เป็นเครื่องบินขับไล่ของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มันถูกออกแบบโดย วิลลี่ แมสเซอร์สมิธ และ โรเบิร์ต รุสเซอร์ ในช่วงต้นจนถึงกลางปี 1930 มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่ดีและทันสมัยที่สุดในยุคของมัน มันถูกใช้งานจนถึงช่วงจุดจบของสงครามโลก โดยกองทัพอากาศเยอรมัน(ลูฟวาร์ฟเฟ่)

Bf109.jpg

ข้อมูลของ Bf 109G-6

บทบาท : เครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด ที่นั่งเดี่ยว

สัญชาติ : เยอรมันนี

ผู้ผลิต : Bayerische Flugzeugwerke, Messerschmitt

ออกแบบโดย : วิลลี่ แมสเซอร์สมิธ, โรเบิร์ต ลุสเซอร์

บินครั้งแรก : 29 พฤษภาคม 1935

สถานะ : ปลดประจำการแล้ว

ผู้ใช้งานหลัก : ลูฟวาร์ฟเฟ่(กองทัพอากาศเยอรมัน), กองทัพอากาศ ฮังการี่, กองทัพอากาศอิตาลี่, กองทัพอากาศโรมาเนีย

ผลิตทั้งหมด : 33,984 ลำ

รุ่นอื่นๆ : Avia S-99/S-199, Hispano Aviacion Ha 1112

นักบิน : 1 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 8.95 เมตร

ความกว้างปีก : 9.925 เมตร

ความสูง : 2.60 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 5.9 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 6.9 ตัน

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 7.5 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ลูกสูบใบพัด Daimler-Benz DB 605A-1 1 เครื่องยนต์

ความเร็วสูงสุด : 640 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ 20,669 ฟุต(6,300 เมตร)

พิสัยบินทำการ : 1,000 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 39,370 ฟุต (12,000 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 17 เมตร/วินาที (3,345 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล MG 131 ขนาด .51 นิ้ว(13 มม.) 2 กระบอก กระสุน 600 นัด, ปินใหญ่ MG 151/20 ขนาด 20 มม. 1 กระบอก กระสุน 200 นัด หรือ ปืนใหญ่ Mk 108 ขนาด 30 มม. 1 กระบอก กระสุน 65 นัด สำหรับรุ่น G-6/U4, กระเปาะปืนกลใต้ปีก MG 151/20 ขนาด 20 มม. 2 กระบอก กระสุน 135 นัด

จรวด : จรวด Wfr. Gr. 21 ขนาด 8 นิ้ว(21 เซนติเมตร) 2 ลูก 

บอมท์ : ระเบิดหนัก 250 กิโลกรัม 1 ลูก หรือ ระเบิดหนัก 50 กิโลกรัม 4 ลูก

me109_3vw.gif

Credit : Wikipedia

---------------------------

จัดให้ตามสั่ง เดี๋ยวเย็นๆเอา B-52 มาส่งเน้อ ท่านไบค์  :pika01:

Link to comment
Share on other sites

b52.jpg

Boeing B-52 StratoFortress

โบอิ้ง บี-52 สตาร์โตฟอร์เทรส เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ พิสัยไกล ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เจ็ท มันถูกออกแบบโดยบริษัท Boeing และใช้งานเพียงในกองทัพอากาศสหรัฐเท่านั้น แม้จะประจำการมาร่วม 50 ปี นับตั้งแต่ปี 1955 แต่ B-52 ก็ยังคงประจำการในกองทัพอากาศต่อไป ในฐานะเครื่องบินทิ้งระเบิดในตำนานอีกรูปแบบหนึ่ง

b52_04.jpg

ข้อมูลของ B-52H Stratofortress

บทบาท : เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์เครื่องยนต์ไอพ่น

สัญชาติ : สหรัฐอเมริกา

ผู้ผลิต : Boeing

บินครั้งแรก : 15 เมษายน 1952

เริ่มใช้งาน : กุมภาพันธ์ 1955

สถานะ : ยังประจำการอยู่

ผู้ใช้งานหลัก : กองทัพอากาศสหรัฐ, นาซ่า

ผลิตทั้งหมด : 744 ลำ ตั้งแต่ปี 1952-1962

นักบิน : 5 นาย

ความยาวตัวเครื่อง : 48.5 เมตร

ความกว้างปีก : 56.4 เมตร

ความสูง : 12.4 เมตร

น้ำหนักตัวเปล่า : 83.3 ตัน

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด : 120 ตัน

น่ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 220 ตัน

เครื่องยนต์ : เครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟน Pratt & Whitney TF33-P-3/103 8 เครื่องยนต์ ให้แรงขับ 17,000 ปอนด์

ความเร็วสูงสุด : 1,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พิสัยบินทำการ : 16,232 กิโลเมตร

เพดานบินสูงสุด : 50,000 ฟุต (15,000 เมตร)

อัตราไต่ระดับ : 31.85 เมตร/วินาที (6,270 ฟุต/นาที)

อาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : ปืนกล M61 Vulcan ขนาด 20 มม. 1 กระบอก, ปืนกล .50 Caliber ขนาด .50 นิ้ว(12.7 มม.) 4 กระบอก

บอมท์ : ระเบิดหนัก 31.5 ตัน(70,000 ปอนด์)

Boeing_B-52_STRATOFORTRESS.png

ในช่วงสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐ นำเครื่องบิน B-52 เข้ามาจอดในประเทศไทยเวลาฐานบิน อู่ตะเภา เพื่อทำหน้าที่เป็นฐานบิน ก่อนจะบินเข้าไปทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือในช่วงสงคราม โดยมีเครื่องบินคุ้มกันคือ F-4 Phantom ที่คอยปกป้องปราการลอยฟ้านี้จากเครื่องบินขับไล่ที่น่ากลัวของคอมมิวนิสต์

Credit : Wikipedia

Link to comment
Share on other sites

ไม่รู้ทำไมผมรู้สึกว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดมันดูเท่กว่าเครื่องบินจู่โจมอีกหว่า :pika01:

Link to comment
Share on other sites

ไม่รู้ทำไมผมรู้สึกว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดมันดูเท่กว่าเครื่องบินจู่โจมอีกหว่า :pika01:

บ.ทิ้งระเบิดน่าจะมีขนาดใหญ่ ดูโอฬาร หรูหรากว่า + บรรทุกระเบิดได้มากกว่ากระมั้ง  :pika01:

ส่วนตัวก็ชอบนะ แต่สมัยนี้ บ.ประเภทนี้สูญพันธุ์ไปแล้วเนี่ยสิ(บ.ขับไล่รุ่นใหม่ๆ มันก็ทิ้งระเบิด + โจมตีภาคพื้นได้ในตัวเองอยู่แล้ว)  :pika11:

Link to comment
Share on other sites

ว่าด้วยเรื่องวิธีอ่านออกเสียง ชื่อรุ่นเครื่องบิน

ชื่อรุ่นเครื่องบินนั้น ภาษาเขียนมีกำหนดเอาไว้ตายตัว แต่ภาษาปากในการพูดบอกต่อนั้น แตกต่างกันไปแล้วแต่สถานที่ เพราะฉะนั้น ผมจะมาชี้แจงว่า การออกเสียงแบบไหนกันแน่ที่ถูกต้อง

ว่ากันตามตรงหลักง่ายๆของการออกเสียงชื่อรุ่นนั้นคือ 'คุณพอใจในชื่อนั้นแค่ไหน'

ยกตัวอย่าง

1.F-16 เรียกกันแบบบ้านๆยังไงก็ เอฟ-สิบหก เหมือนกันหมด แต่บางคนอาจจะอยากเรียกแบบมะกันคือ เอฟ-ซิกทีน ก็ไม่ผิด มันก็ลำเดียวกัน แค่ออกเสียงต่างกันเท่านั้น แต่ยังสามารถโยงกลับเข้าหาตัวเลขเดิม ทำให้ใจความไม่เปลี่ยนแปลงไป

2.C-130 เรียกกันแบบภาษาคนเก่าคนแก่นั้นจะเรียกกันว่า ซี-ร้อยสามสิบ ซึ่งตัวเลข 3 หลักแบบนี้นั้น หลายคนอาจจะอยากเรียกแบบอื่นเช่น ซี-หนึ่งสามศูนย์ ก็ไม่ผิด เพราะตัวเลขยังคงเดิม

ว่ากันง่ายๆคือ การอ่านออกเสียงนั้น แล้วแต่ความพอใจของผู้พูด ว่าจะชอบใจชื่อไหนมากกว่ากัน อยากจะอ่านออกเสียงแบบไหนตามใจครับ เพราะมันสามารถโยงกลับเข้าหารหัสจริงได้ก็ถือว่าไม่ผิด

ว่ากันอีก 1 ตัวอย่างก่อนเข้าถึงตัวอย่างของผมเอง

1.Su-27 เรียกกันภาษาเราคือ ซู-ยี่สิบเจ็ด แต่ถ้าเป็นแบบอเมริกันจะอ่านออกเสียงว่า เอสยู-ทเวนตี้เซเว่น เพราะอเมริกาจะอ่านออกเสียง ซู ได้ต้องเป็นคำว่า Sue ฉะนั้นจึงไม่สามารถอ่านออกมาเป็น ซู ได้ ส่วนในเครื่องบิน MIG นั้นสามารถสกดคำว่า 'มิก' ได้อยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหา

ว่ากันตามตรง ผมเองเรียกปนกันหลายอย่างเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น

เครื่องบินตระกูล A

-A-4 Skyhawk ผมอ่านออกเสียงว่า เอ-โฟว์ สกายฮอร์ค

-A-7 Corsair II ผมอ่านออกเสียงว่า เอ-เจ็ด คอร์แซร์ ทู เพราะผมรู้สึกว่า เอ-เซเว่น มันแหม่งๆ(จุดนี้คือความพอใจของผู้พูด)

เครื่องบินที่มีรหัสเลข 3 หลัก

-F-117 Nighthawk ผมอ่านออกเสียงว่า เอฟ-หนึ่งหนึ่งเจ็ด ไนท์ฮอร์ค(สามารถอ่านได้อีกหลายแบบเช่น เอฟ-ร้อยสิบเจ็ด หรือ เอฟ-วันเซเว่นทีน)

-Tu-160 Blackjack ผมอ่านออกเสียงว่า ตู-ร้อยหกสิบ แบล็คแจ็ค(สามารถอ่านว่า ตู-หนึ่งหกศูนย์ก็ได้ ไม่ผิดเช่นกัน)

ก็คงหมดไปกับตัวอย่าง ถ้าคุณคิดว่าเรียกแบบไหนแหม่งๆ ทะแม่งๆ ไม่ถูกปาก เรียกแบบที่คุณถนัดเถอะครับ มันไม่ผิด

Link to comment
Share on other sites

ปืนใหญ่อัตราจรขนาด 155 มม. ของ BAE Systems แบบ Archer ที่สวีเดนและนอร์เวย์ร่วมกันพัฒนา ไทยเองก็มีรูปแบบคล้ายๆแบบนี้เช่นกันคือ ปืนใหญ่แบบ ซีซ่าห์ของฝรั่งเศสครับ

ป.ล. - เห็นเท่ดีเลยมาลง 555+

Credit : TFC

Link to comment
Share on other sites

Please sign in to comment

You will be able to leave a comment after signing in



Sign In Now
  • Recently Browsing   0 members

    • No registered users viewing this page.

×
×
  • Create New...

Important Information

By using this site, you agree to our Terms of Use and Privacy Policy. We have placed cookies on your device to help make this website better. You can adjust your cookie settings, otherwise we'll assume you're okay to continue.